ข่าวที่ 39/2566 วันที่ 12 เมษายน 2566
ปีนี้ ไม้ผลตะวันออก ‘ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง’ ผลผลิตรวม 1.05 ล้านตัน ออกตลาดชุก หลังสงกรานต์ นี้
นางธีรารัตน์ สมพงษ์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนั
กงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมู
ลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออก ปี 2566 (ข้อมูล ณ 5 เมษายน 2566) โดย สศก. ร่วมกับคณะทำงานย่อยเพื่อพั
ฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ ภาคตะวันออก สรุปตัวเลขเอกภาพปริมาณผลผลิ
ตของไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด (ระยอง จันทบุรี ตราด) สรุป
ปี 2566 ปริมาณผลผลิตรวมทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 1,053,328 ตัน ลดลงจากปี 2565 ที่มีจำนวน 1,262,899 ตัน (ลดลง 209,571 ตันหรือร้อยละ 17) โดย
ลองกอง ลดลงมากที่สุดร้อยละ 62 รองลงมา
มังคุด ลดลงร้อยละ 45
เงาะ ลดลงร้อยละ 35 และ
ทุเรียน ลดลงร้อยละ 3 ซึ่งผลผลิตรวมของไม้ผลทั้ง 4 ชนิดลดลง เนื่องจากการเปลี่
ยนแปลงของสภาพอากาศที่มีฝนตกชุ
กช่วงปลายปี 2565 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2566 สลับกับอากาศหนาวเย็น ไม่เอื้ออำนวยต่อการออกดอกและติ
ดผลของไม้ผล อีกทั้งได้รับผลกระทบจากลมพายุ ลมแรงหลายรอบในช่วงเดือนธันวาคม 2565 - ต้นเดือนเมษายน 2566 ทำให้ดอกและลูกร่วงเสียหาย ทั้งนี้ ผลผลิตได้ทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจะออกต่อเนื่องจนถึงเดือนกั
นยายน 2566 โดยผลผลิตจะออกมากที่สุดช่วงเดื
อนเมษายน 2566 หลังเทศกาลสงกรานต์เป็นต้นไปต่
อเนื่องถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 55 ของผลผลิตทั้งหมด
ด้านผลผลิตต่อไร่ของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด พบว่า มีจำนวน 1,604 กิโลกรัม/ไร่ ลดลงจากปี 2565 ที่มีผลผลิต 1,845 กิโลกรัม/ไร่ เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของไม้
ผลที่อยู่ในระยะออกดอก ไม่สามารถพัฒนาเป็นระยะติดผลได้ บางส่วนแตกใบอ่อนแทนการออกดอก อีกทั้ง ทุเรียนซึ่งเป็นไม้ผลหลัก ไม่สามารถรักษาโรครากเน่าโคนเน่
าจากเชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora) และโรคกิ่งแห้งทุเรียนจากเชื้
อราฟิวซาเรียม (Fusarium) นอกจากนี้ ยังพบเพลี้ยไฟระบาดทำให้ต้นไม่
สมบูรณ์ ให้ผลผลิตได้ไม่เต็มต้น ประกอบกับมีต้นที่เริ่มให้ผลผลิ
ต ปี 2566 เป็นปีแรก เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งต้นที่ให้ผลใหม่ปีแรกผลผลิ
ตต่อไร่ยังไม่มากเมื่
อคำนวณโดยค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง
สถานการณ์การผลิตไม้ผลทั้ง 4 ชนิด ขณะนี้
ทุเรียน ออกดอกแล้วร้อยละ 100 เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่ต้นเดื
อนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนสิงหาคม 2566 ทุเรียนที่เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่
วงแรกคือทุเรียนพันธุ์เบา และทุเรียนที่บังคับสารออกดอกคื
อทุเรียนพันธุ์กระดุม พวงมณี ชะนี และหมอนทองบางส่วน โดยทุเรียนจะออกสู่ตลาดมากที่สุ
ดในกลางเดือนเมษายน ต่อเนื่องถึงกลางเดือน พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 55 ของผลผลิตทั้งหมด
มังคุด ออกดอกแล้วร้อยละ 81 การเติบโตระยะผลเล็ก ผลกลางผลโตทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิต เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่ต้นเดื
อนมีนาคม จนถึงต้นเดือนสิงหาคม 2566 ปีนี้ มังคุดออกดอกน้อย เนื่
องจากสภาพอากาศแปรปรวนหนาวเย็
นนาน ฝนตกชุกช่วงปลายปี 2565 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2566 ส่งผลให้ มังคุดอยู่ในระยะปากนกแก้ว แตกใบอ่อนแทนการออกดอกและพายุ
ลมแรงใบร่วงหล่นต้องสร้างใบใหม่ ไม่พร้อมการออกดอก จึงออกดอกติดผลน้อยกว่าปีที่ผ่
านมา โดยมังคุดจะออกสู่ตลาดมากที่สุ
ดในเดือนมิถุนายน 2566 ร้อยละ 41 ของผลผลิตทั้งหมด
เงาะ ออกดอกร้อยละ 99 ส่วนใหญ่อยู่ในระยะผลอ่อน ผลเล็ก เริ่มสร้างเนื้อ และเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งเงาะที่เริ่มเก็บเกี่ยวได้
แล้วบางส่วนคือเงาะสีทองของจั
งหวัดตราด เงาะเริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่
ปลายเดือนมีนาคม จนถึงต้นเดือนสิงหาคม 2566 โดยเงาะจะออกสู่ตลาดมากที่สุ
ดในเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 31 ของผลผลิตทั้งหมด และ
ลองกอง ออกดอกแล้วร้อยละ 59 ส่วนใหญ่อยู่ในระยะตั้งช่
อดอกและเริ่มติดผลอ่อนบ้างเล็
กน้อย ปีนี้ลองกองติดผลช้ากว่าปีที่ผ่
านมาเนื่องจากมีฝนตกชุกช่
วงปลายปี 2565 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2566 ทำให้ต้นลองกองไม่อยู่ในระยะกั
กน้ำ ต้นไม่ขาดน้ำ ใบเขียวไม่สลด ส่วนลองกองที่ออกดอกก่อนหน้
ามาถูกฝนชะดอก ดอกฝ่อ ไม่สามารถพัฒนาเป็นช่อดอกได้ โดยลองกองสามารถออกดอกได้ทั้งปี
โดยคาดว่าดอกชุดหลังจะออกในช่
วงปลายเดือนเมษายน 2566 ผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุ
ดในปลายเดือนมิถุนายน ต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 55 ของผลผลิตทั้งหมด
แนวทางการบริหารจัดการผลไม้ ในปี 2566 ทั้ง 3 จังหวัด ได้กำหนดมาตรการควบคุมป้องกั
นและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุ
ณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด โดยประกาศกำหนดวันเก็บเกี่ยวทุ
เรียน 4 พันธุ์ ดังนี้ พันธุ์กระดุม และพันธุ์พวงมณี เก็บเกี่ยวได้วันที่ 10 มีนาคม 2566 พันธุ์ชะนีเก็บเกี่ยวได้วันที่ 20 มีนาคม 2566 และพันธุ์หมอนทอง เก็บเกี่ยวได้วันที่ 15 เมษายน 2566 หากเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวทุเรี
ยนก่อนวันกำหนด ต้องนำตัวอย่างทุเรี
ยนไปตรวจเปอเซ็นต์น้ำหนักแห้
งในเนื้อทุเรียน ณ สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ จุดบริการ สถาบันที่เข้าร่วมโครงการ ในส่วนของล้งส่งออกต้องแจ้งด้
านตรวจพืชจันทบุรี หรือ สำนักวิจัยและพั
ฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (สวพ.6) จังหวัดจันทบุรี เพื่อสุ่มตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนั
กแห้งในเนื้อทุเรียนก่อนปิดตู้
ส่งออก ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ทุเรียน มกษ. 3-2556 ของสำนักงานมาตรฐานสินค้
าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกรมวิชาการเกษตร (กวก.) โดยกำหนดค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็
นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนขั้
นต่ำของพันธุ์กระดุม ไม่น้อยกว่า 27 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง พันธุ์ชะนีและพันธุ์พวงมณี ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง และพันธุ์หมอนทอง ไม่น้อยกว่า 32 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง หากต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดถือว่
าเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ซึ่งผู้ใดจำหน่ายทุเรียนด้อยคุ
ณภาพ จะใช้
มาตรการทางการปกครองและมาตรการท
างกฎหมายเพื่อลงโทษผู้กระทำผิด สำหรับในปี 2566 เครือข่ายพิทักษ์ทุเรียนไทย มีแนวทางในการพัฒนาเพื่อยกระดับ
คุณภาพทุเรียนหมอนทองภาคตะวั
นออก โดยการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ผลิ
ต ล้งส่งออก ผู้ประกอบการ ที่มีความสมัครใจในการตัดและรั
บซื้อทุเรียนคุณภาพที่มีเปอร์
เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรี
ยนหมอนทองเพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง จากที่มาตรฐานกำหนดไว้ไม่น้
อยกว่า 32 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง โดยล้งรับซื้อเป็นผู้จ่ายส่วนต่
างค่าแขวนที่น้ำหนักหายไประหว่
างรอตัดทุเรียนตามเปอร์เซ็นต์น้ำ
หนักแห้งที่เพิ่มขึ้น เพื่อผู้บริโภคปลายทางประเทศจี
นได้ซื้อทุเรียนที่มีคุณภาพบริ
โภค โดยสำนักงานส่งเสริมและพั
ฒนาการเกษตรที่ 3 (สสก.3) จังหวัดระยอง สำนักงานเกษตรจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด (ระยอง จันทบุรี ตราด) สนับสนุนเกษตรกรที่มี
ความประสงค์เข้าร่วมโครงการ มีล้งส่งออกที่สนใจเข้าร่
วมโครงการแล้วรวมจำนวน 28 ล้ง ทั้งนี้ สสก.3 ได้นำข้อมูลเอกภาพนี้ไปบริหารจั
ดการ ในการ
จัดตั้งวอร์รูมเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ทั้งปริมาณการออกสู่ตลาดและราคาขายรายวัน โดยเริ่มรายงานตั้งแต่ 12 เมษายน 2566 เป็นต้นไป หากท่านใดที่สนใจข้อมู
ลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออก สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.6 โทร 0 3835 2435 หรืออีเมลzone6@
oae.go.th
******************************
******
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี