- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 9-15 ตุลาคม 2566
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และปริมาณฝนน้อยกว่าปี 2565 ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อย ทำให้ต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 6.394 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 24.82 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูลเบื้องต้น ณ เดือนกันยายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 7.760 ล้านไร่ ผลผลิต 4.787 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 617 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 34.72 ร้อยละ 38.01 และร้อยละ 5.08 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากคาดว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่า ปี 2566 ทำให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 3.039 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 63.49 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,894 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,040 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,208 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,238 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 858 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,240 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 855 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,402 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 162 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 595 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,664 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 597 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,926 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 262 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 598 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,773 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 594 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,816 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.4097 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เวียดนาม
เวียดนาม นิวส์ รายงานว่า ในปี 2566/67 คาดว่าการรุกล้ำของน้ำเค็มในทะเลบริเวณภูมิภาคดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนามจะเกิดเร็วขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2566 - เมษายน 2567 ขณะที่หลายพื้นที่กำลังเตรียมแผนเพื่อรองรับน้ำให้มีเพียงพอสำหรับการเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูใบไม้ผลิ ตั้งแต่เดือนกันยายน - กลางเดือนพฤศจิกายน 2566 เพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากภัยแล้งและความเค็มของน้ำ อย่างไรก็ตาม การที่ฤดูฝนสิ้นสุดเร็ว อาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เกษตรกรรมได้
สถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำทางตอนใต้ของเวียดนาม คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปี 2566 มีปริมาณรวม
1,350 มิลลิเมตร ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 13 แต่มากกว่าเมื่อปี 2558 ที่ประสบภัยแล้งรุนแรงเพียง
ร้อยละ 1 เท่านั้น ทั้งนี้ ในภูมิภาคดังกล่าว ช่วงฤดูแล้งรุนแรงปี 2558/59 พบว่า การรุกล้ำของน้ำเค็มและภัยแล้งนำไปสู่การสูญเสียข้าวเปลือกจำนวน 1 ล้านตัน ขณะที่ประชาชน 5 แสนครัวเรือน ต้องเผชิญกับการขาดแคลนน้ำใช้ในชีวิตประจำวัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว (Xinhua)
2) ไทย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทร ศรีสรรพางค์) เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ของไทยให้เข้มแข็ง ซึ่งสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีอัตลักษณ์และมีศักยภาพแข่งขันได้ในเวทีโลก กระทรวงพาณิชย์จึงมอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา เร่งส่งเสริมสินค้า GI ไทยในทุกมิติ โดยเฉพาะการยื่นขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ
เพื่อขยายตลาดและเพิ่มมูลค่าสินค้า
สำหรับสินค้าข้าว เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญามาเลเซีย ได้ประกาศ
ขึ้นทะเบียน GI “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” และ “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ผ่านมา
ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ได้รับการจดทะเบียน GI ในสหภาพยุโรป และอินโดนีเซีย ส่วนข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
ได้รับการจดทะเบียน GI ในสหภาพยุโรป จีน และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” สามารถปลูกได้ในจังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้าง มีแหล่งน้ำหนุนจากทะเลสาบสงขลา และมีการทับถมของตะกอน ทำให้ข้าวมีคุณภาพดี มีลักษณะเด่น คือ เมล็ดข้าวเรียวเล็ก อ่อนนุ่ม ข้าวกล้องมีสีแดงถึงแดงเข้ม ข้าวสารมีสีขาวปนแดงแกมชมพูเป็นเอกลักษณ์ และมีผลผลิตปริมาณ 8,000 ตันต่อปี สร้างรายได้ประมาณ 104 ล้านบาทต่อปี สำหรับ “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” สามารถปลูกได้
ในฤดูการผลิตข้าวนาปี บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด ที่มีสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ ดินร่วนปนทราย
มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีความแห้งแล้งและมีความเค็มในดิน ส่งผลให้ข้าวเกิดความเครียดและหลั่งสารหอม ข้าวหอมมะลิดังกล่าว จึงมีความหอมตามธรรมชาติมากกว่าข้าวจากแหล่งอื่น และเมื่อหุงสุกจะมีกลิ่นหอมและนุ่ม โดย 5 จังหวัด มีผลผลิตปริมาณ 24,500 ตันต่อปี สร้างรายได้ประมาณ 266 ล้านบาทต่อปี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ชาวมาเลเซียบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมบริโภคเมนูนาซิเลอมัก (Nasi Lemak) ซึ่งเป็นข้าวที่หุงกับกะทิและใบเตย รับประทานคู่กับแกงและเครื่องเคียงต่างๆ มาเลเซียจึงนําเข้าข้าวจากต่างประเทศกว่าร้อยละ 30 ตามความต้องการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งข้าวไทยได้รับความนิยมในประเทศมาเลเซีย โดยในปี 2565 ไทยส่งออกข้าวไปประเทศมาเลเซีย มูลค่าประมาณ 3,200 ล้านบาท
ที่มา มติชนออนไลน์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 302.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,978.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,114.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 136.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 490.16 เซนต์ (7,106.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 490.28 เซนต์ (7,168.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 62.00 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 302.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,978.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,114.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 136.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 490.16 เซนต์ (7,106.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 490.28 เซนต์ (7,168.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 62.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย และฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.73 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.89 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.54
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.04 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.97 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 8.97 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.65 บาท ราคาสูงขึ้นกิโลกรัมละ 18.60 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.27
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 282.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,410 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 280.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,350 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.71
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 566.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,860 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 565 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,850 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.22
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.343 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.242 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.383 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนกันยายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 2.89 และร้อยละ 2.81 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.24 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.44 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.68
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 29.69 บาท ลดลงจาก กก.ละ 29.77 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.27
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มมาเลเซีย ณ เดือนกันยายน อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน มีปริมาณ 2.31 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณการส่งออกลดลงอยู่ที่ 1.20 ล้านตัน โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม มาเลเซียจะมีสต็อกน้ำมันปาล์มอยู่ที่ 2.50 ล้านตัน นอกจากนี้คาดว่าจีนและอินเดียจะมีปริมาณการซื้อลดลง เนื่องจากสต็อกน้ำมันในประเทศดังกล่าวเพิ่มขึ้น
สายการบินการูดาของอินโดนีเซียได้สิ้นสุดการทดสอบน้ำมันไบโอเจ็ตที่มีการผสมน้ำมันปาล์ม 2.40 เปอร์เซ็นต์แล้ว โดยได้ทดสอบการบินเป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร เพื่อเตรียมพร้อมขยายฐานการใช้น้ำมันปาล์มในตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ตามเป้าหมาย Indonesia's green energy development
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,569.75 ริงกิตมาเลเซีย (28.08 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,608.55 ริงกิตมาเลเซีย (28.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.08
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 904.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.31 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 901.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.39
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- โรงงานน้ำตาลของประเทศเวียดนาม รายงานว่า เวียดนามอาจจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ 1.03 ล้านตัน ในปี 2566/2567 โดยเพิ่มขึ้นจาก 935,000 ตัน ในฤดูกาลที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงงานเสนอราคาอ้อยที่ดีขึ้น โดยราคาน้ำตาลในประเทศของเวียดนามได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปที่ราคา 28,000 ดองเวียดนาม/กิโลกรัม (หรือประมาณ 1.15 ดอลลาร์สหรัฐฯ/กิโลกรัม)
- แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมน้ำตาลของประเทศอินเดีย รายงานว่า ปริมาณอ้อยในปี 2566/2567 ของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) คาดว่าจะลดลงร้อยละ 20 – 25 สอดคล้องกับรายงานของสื่อท้องถิ่นที่คาดการณ์ว่า ในเขตสังคลี (Sangli) ปริมาณอ้อยจะลดลงร้อยละ 20 ในขณะเดียวกัน โรงงานน้ำตาลต่างๆ ได้ขยายกำลังการผลิตในการหีบอ้อยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขันที่มากขึ้นในการจัดหาอ้อย ด้านเขตสาตระ (Satara) โรงงานน้ำตาลที่เคยเลิกผลิตเริ่มกลับมาเปิดดำเนินการ โดยในเขตเบลคาอุม (Belgaum) แม้จะมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น แต่มีรายงานว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยมีเพียงครึ่งหนึ่งของสถานการณ์ปกติ คล้ายกับเขตคันเดช (Khandesh) ที่คาดว่า โรงงานน้ำตาลใหม่หลายแห่งจะเริ่มฤดูกาลหีบใหม่ท่ามกลางพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยรายงานอีกฉบับระบุเพิ่มเติมว่า ฝนที่ตกลงมาช่วงปลายเดือนแม้จะส่งผลดี แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะช่วยให้อ้อยเติบโตได้มากนัก
- แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมน้ำตาลของประเทศอินเดีย รายงานว่า ปริมาณอ้อยในปี 2566/2567 ของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) คาดว่าจะลดลงร้อยละ 20 – 25 สอดคล้องกับรายงานของสื่อท้องถิ่นที่คาดการณ์ว่า ในเขตสังคลี (Sangli) ปริมาณอ้อยจะลดลงร้อยละ 20 ในขณะเดียวกัน โรงงานน้ำตาลต่างๆ ได้ขยายกำลังการผลิตในการหีบอ้อยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขันที่มากขึ้นในการจัดหาอ้อย ด้านเขตสาตระ (Satara) โรงงานน้ำตาลที่เคยเลิกผลิตเริ่มกลับมาเปิดดำเนินการ โดยในเขตเบลคาอุม (Belgaum) แม้จะมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น แต่มีรายงานว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยมีเพียงครึ่งหนึ่งของสถานการณ์ปกติ คล้ายกับเขตคันเดช (Khandesh) ที่คาดว่า โรงงานน้ำตาลใหม่หลายแห่งจะเริ่มฤดูกาลหีบใหม่ท่ามกลางพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยรายงานอีกฉบับระบุเพิ่มเติมว่า ฝนที่ตกลงมาช่วงปลายเดือนแม้จะส่งผลดี แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะช่วยให้อ้อยเติบโตได้มากนัก
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.87 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,262.6 เซนต์ (17.23 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,273.8 เซนต์ (17.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.88
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 372.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.67 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 368.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.16
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.5 เซนต์ (46.74 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 58.58 เซนต์ (46.74 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.1
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.87 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,262.6 เซนต์ (17.23 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,273.8 เซนต์ (17.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.88
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 372.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.67 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 368.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.16
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.5 เซนต์ (46.74 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 58.58 เซนต์ (46.74 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.1
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 961.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 955.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 823.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.97 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 817.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,348.25 ดอลลาร์สหรัฐ (49.09 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,339.60 ดอลลาร์สหรัฐ (49.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 906.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 900.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,066.25 ดอลลาร์สหรัฐ (38.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,059.40 ดอลลาร์สหรัฐ (38.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.10 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.97 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.97
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,894 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,941 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,368 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,380 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 908 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.20 คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.10 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.83 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 62.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 63.70 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,100 บาท ลดลงจากตัวละ 1,200 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.44 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.94 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.24 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ลดลงจากตัวละ 12.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.40 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 370 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 371 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 383 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 407 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 410 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 411 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 386 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.65 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.84 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 93.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.13 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.36 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.70 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.20 คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.10 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.83 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 62.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 63.70 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,100 บาท ลดลงจากตัวละ 1,200 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.44 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.94 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.24 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ลดลงจากตัวละ 12.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.40 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 370 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 371 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 383 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 407 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 410 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 411 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 386 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.65 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.84 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 93.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.13 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.36 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.70 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 9 - 15 ตุลาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.96 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.52 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.68 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 109.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 105.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.20 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.85 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 9 - 15 ตุลาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.96 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.52 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.68 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 109.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 105.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.20 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.85 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา