- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 30 ตุลาคม-5 พฤศจิกายน 2566
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.838 ล้านไร่ ผลผลิต 26.712 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 425 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าว
ที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้
ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.555 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.75 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2566 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 22.938 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 89.71 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 2.631 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 10.29 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูลเบื้องต้น ณ เดือนกันยายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 7.760 ล้านไร่ ผลผลิต 4.787 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 617 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.099 ล้านไร่ ผลผลิต
7.199 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 649 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 30.08 ร้อยละ 33.50 และร้อยละ 4.93 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากคาดว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่า ปี 2566 ทำให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 3.039 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 63.49 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,147 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,616 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.21
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,548 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,808 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.03
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 32,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.84
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 19,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 862 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,841 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 837 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,101 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 740 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,895 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 586 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,074 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 179 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 578 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,680 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,895 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 215 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7787 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวปรับสูงขึ้น โดยข้าวขาว 5% ตันละ 640-645 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 22,898 - 23,077 บาท) สูงขึ้นจากตันละ 625-630 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 22,362 - 22,541 บาท) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2566 เนื่องจากอินโดนีเซียมีความต้องการนำเข้าข้าวจากเวียดนามเพิ่มขึ้น ขณะที่อุปทานข้าวในประเทศมีจำกัด ประกอบกับฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต (ช่วงฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง) สิ้นสุดแล้ว และเวียดนามยังคงต้องติดตามสถานการณ์ปริมาณผลผลิตที่อาจจะออกสู่ตลาดลดลงในช่วงฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว
กรมศุลกากรของเวียดนาม รายงานว่า ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2566 คาดว่าเวียดนามจะส่งออกข้าวประมาณ 7.1 ล้านตันข้าวสาร มูลค่าประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 143,115 ล้านบาท) โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 และร้อยละ 35 ตามลำดับ ซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2552
สมาคมอาหารเวียดนาม รายงานว่า ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2566 ราคาข้าวของเวียดนามสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก โดยราคาข้าวขาว 5% ของเวียดนามตันละ 643 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 23,006 บาท) สูงกว่าราคาข้าวประเภทเดียวกันของไทยและปากีสถานที่ตันละ 79 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ
ตันละ 2,827 บาท) และตันละ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 2,862 บาท) ตามลำดับ สำหรับราคาข้าวขาว 25% ของเวียดนามตันละ 628 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 22,469 บาท) สูงกว่าราคาข้าวของไทยและปากีสถานที่ตันละ 106 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 3,793 บาท) และตันละ 140 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 5,009 บาท) ตามลำดับ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7787 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.14 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.50 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,029.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 298.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,699.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 330.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 491.57 เซนต์ (7,129.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 482.80 เซนต์ (6,914.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 215.00 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.14 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.50 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,029.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 298.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,699.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 330.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 491.57 เซนต์ (7,129.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 482.80 เซนต์ (6,914.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 215.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน
พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.80 ล้านตัน (ร้อยละ 6.45 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.45 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย และฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.85 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.84 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.35
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.14 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.15 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.14
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.97 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 8.97 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.76 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.32
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 282.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,200 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 282.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,250 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,490 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,590 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.343 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.242 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.383 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนกันยายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 2.89 และร้อยละ 2.81 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.71 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.59 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.28 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.63 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.12
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สถานการณ์เอลนีโญคาดส่งผลต่อปริมาณน้ำมันปาล์มในปี 2567 ในขณะที่ปริมาณความต้องการน้ำมันปาล์มคาดว่าจะสูงขึ้น ส่งผลให้ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยนักวิเคราะห์ในอินโดนีเซีย ให้ความเห็นว่าความต้องการน้ำมันปาล์มเกิดจากแรงผลักดันของภาคพลังงานที่ต้องการนำน้ำมันปาล์มไปผสมเชื้อเพลิงฟอสซิล
อย่างไรก็ตามต้นปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซียมีอายุมากขึ้น ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ได้
อย่างไรก็ตามต้นปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซียมีอายุมากขึ้น ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ได้
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,611.32 ริงกิตมาเลเซีย (27.73 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,650.97 ริงกิตมาเลเซีย (28.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.09
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 871.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31.53 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 880.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.02
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- โรงงานน้ำตาลในภาคกลาง – ใต้ของบราซิล วางแผนที่จะขยายเวลาเปิดหีบ ปี 2566/2567 ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 12 ปี โดยโรงงานบางแห่ง คาดว่า จะเปิดหีบจนถึงกลางเดือนธันวาคม 2566 จากปกติจะสิ้นสุดการหีบอ้อยในเดือนพฤศจิกายน และบางแห่งอาจขยายเวลาออกไปจนถึงเดือนมกราคม 2567 อย่างไรก็ตาม Union of Bioenergy Producers (UDOP) คาดการณ์ว่า จะมีปริมาณอ้อยค้างไร่อยู่ที่ประมาณ 30 ล้านตัน ด้าน Alcoeste Bioenergia คาดการณ์ว่า การผลิตน้ำตาลของโรงงานในภาคกลาง – ใต้ของบราซิลในปี 2567/2568 จะเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้นถึง 4 ล้านตัน
- EU Sugar Market Observatory รายงานว่า ในปี 2565/2566 สหภาพยุโรปมีการนำเข้าน้ำตาล 2.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่การส่งออกน้ำตาลลดลงร้อยละ 25 เหลือเพียง 598,000 ตัน
- การประมาณการปริมาณอ้อยล่วงหน้าครั้งแรกของกระทรวงเกษตรประเทศอินเดีย คาดการณ์ว่า ผลผลิตอ้อยของอินเดียปี 2566/2567 อยู่ที่ 435 ล้านตัน เทียบกับค่าเฉลี่ยซึ่งอยู่ที่ประมาณ 422 ล้านตัน
- EU Sugar Market Observatory รายงานว่า ในปี 2565/2566 สหภาพยุโรปมีการนำเข้าน้ำตาล 2.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่การส่งออกน้ำตาลลดลงร้อยละ 25 เหลือเพียง 598,000 ตัน
- การประมาณการปริมาณอ้อยล่วงหน้าครั้งแรกของกระทรวงเกษตรประเทศอินเดีย คาดการณ์ว่า ผลผลิตอ้อยของอินเดียปี 2566/2567 อยู่ที่ 435 ล้านตัน เทียบกับค่าเฉลี่ยซึ่งอยู่ที่ประมาณ 422 ล้านตัน
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 20.81 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,298.44 เซนต์ (17.27 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,287.35 เซนต์ (17.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.86
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 431.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.61 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 428.35 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.68
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 50.68 เซนต์ (40.43 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 51.90 เซนต์ (41.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.35
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 20.81 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,298.44 เซนต์ (17.27 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,287.35 เซนต์ (17.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.86
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 431.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.61 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 428.35 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.68
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 50.68 เซนต์ (40.43 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 51.90 เซนต์ (41.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.35
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.75 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.26
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.07
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.50
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.74
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 979.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 974.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 822.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.41 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 834.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.60 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,407.40 ดอลลาร์สหรัฐ (50.36 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,366.25 ดอลลาร์สหรัฐ (49.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.01 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.23 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 923.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 918.50 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,036.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,080.75 ดอลลาร์สหรัฐ (38.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.14 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.79 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.72 บาท บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.58
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.89 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.43
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,929 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,112 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.66 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,408 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,481 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.93 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 908 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 63.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.64 คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 62.34 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.41 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 64.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.41 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 1,100 คิดเป็นร้อยละ 18.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.50 คิดเป็นร้อยละ 6.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากยังคงมีความต้องการบริโภคเนื้อไก่ใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.31 คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.15 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.50 คิดเป็นร้อยละ 2.82 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.75 คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 370 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 369 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 381 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 431 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 404 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 405 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 407 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 439 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.65 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.95 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.44 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.51 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 66.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.79 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.20 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 63.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.64 คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 62.34 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.41 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 64.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.41 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 1,100 คิดเป็นร้อยละ 18.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.50 คิดเป็นร้อยละ 6.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากยังคงมีความต้องการบริโภคเนื้อไก่ใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.31 คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.15 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.50 คิดเป็นร้อยละ 2.82 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.75 คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 370 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 369 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 381 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 431 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 404 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 405 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 407 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 439 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.65 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.95 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.44 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.51 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 66.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.79 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.20 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 62.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.39 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.48 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.80 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 62.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.39 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.48 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.80 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา