- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สศท.10 ร่วมพิธีวางพานพุ่มฯ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร.9 เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566 ณ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มอบหมายให้ นางสาวศิริพร จูประจักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 เป็นผู้แทน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566 ณ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและ การบินเกษตร และผู้บริหารของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยในปีนี้ครบรอบปีที่ 68 แห่งการก่อกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง ภายในงานมีการจัดแสดงงานวิจัยโครงการฝนหลวง ได้แก่ โครงการวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพ่นสารจากพื้นสู่ก้อนเมฆ หรือ Ground Based Generator Technology เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวงสำหรับพื้นที่เขตเงาฝนบริเวณภาคเหนือของประเทศ และโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศ ที่ใช้เพื่อสนับสนุนการทำฝนหลวงในพื้นที่ที่เครื่องบิน ทำฝนหลวงเข้าถึงลำบาก นอกจากนี้ประธานในพิธีได้มีการมอบรางวัลแก่อาสาสมัครฝนหลวงดีเด่นระดับภูมิภาค ประจำปี 2566 จำนวน 7 รางวัล อีกด้วย
สำหรับความเป็นมาของวันพระบิดาแห่งฝนหลวง มีที่มานับตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยีอนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 ทรงพบว่าราษฎรเดือดร้อนพืชผล ทางการเกษตรเสียหายจากทั้งฝนแล้งและน้ำท่วม ทำให้ทรงเกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาทุกข์ร้อนของราษฎร ในขณะนั้นว่า “สมควรที่จะสร้างฝายหรือเขื่อนขนาดเล็ก (Check dams) และอ่างเก็บน้ำจำนวนมากขวางทางน้ำ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงการไหลบ่า และเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้งซึ่งเป็นการบรรเทาสภาวะแห้งแล้งได้ทางหนึ่ง” ที่สำคัญทรงเกิดประกายความคิดด้วยความมั่นพระทัยว่าน่าจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เกิดฝนได้ และน่าจะมีวิธีการที่จะรวมเมฆที่กระจายอยู่ในท้องฟ้าแต่ลอยผ่านพื้นที่แห้งแล้งไปหมดดังที่ทรงสังเกตเห็นในขณะนั้น ให้เมฆเหล่านั้นรวมตัวกันเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นที่แห้งแล้งดังกล่าวได้ อันเป็นต้นกำเนิดของแนวพระราชดำริที่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” ในปัจจุบัน
ด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2545 ให้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น พระบิดาแห่งฝนหลวง และให้ทุกวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อจารึกไว้เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย และเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทย จะได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบิดาแห่งฝนหลวง ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในฐานะเป็นหน่วยงานที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำเนินงานโครงการพระราชดำริฝนหลวง จึงได้จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบิดาแห่งฝนหลวงมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการดำเนินงานในส่วนภูมิภาคได้มีการจัดพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในพิธี และร่วมลงนามน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณผ่านระบบออนไลน์ด้วยเช่นกัน
สำหรับความเป็นมาของวันพระบิดาแห่งฝนหลวง มีที่มานับตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยีอนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 ทรงพบว่าราษฎรเดือดร้อนพืชผล ทางการเกษตรเสียหายจากทั้งฝนแล้งและน้ำท่วม ทำให้ทรงเกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาทุกข์ร้อนของราษฎร ในขณะนั้นว่า “สมควรที่จะสร้างฝายหรือเขื่อนขนาดเล็ก (Check dams) และอ่างเก็บน้ำจำนวนมากขวางทางน้ำ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงการไหลบ่า และเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้งซึ่งเป็นการบรรเทาสภาวะแห้งแล้งได้ทางหนึ่ง” ที่สำคัญทรงเกิดประกายความคิดด้วยความมั่นพระทัยว่าน่าจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เกิดฝนได้ และน่าจะมีวิธีการที่จะรวมเมฆที่กระจายอยู่ในท้องฟ้าแต่ลอยผ่านพื้นที่แห้งแล้งไปหมดดังที่ทรงสังเกตเห็นในขณะนั้น ให้เมฆเหล่านั้นรวมตัวกันเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นที่แห้งแล้งดังกล่าวได้ อันเป็นต้นกำเนิดของแนวพระราชดำริที่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” ในปัจจุบัน
ด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2545 ให้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น พระบิดาแห่งฝนหลวง และให้ทุกวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อจารึกไว้เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย และเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทย จะได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบิดาแห่งฝนหลวง ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในฐานะเป็นหน่วยงานที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำเนินงานโครงการพระราชดำริฝนหลวง จึงได้จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบิดาแห่งฝนหลวงมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการดำเนินงานในส่วนภูมิภาคได้มีการจัดพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในพิธี และร่วมลงนามน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณผ่านระบบออนไลน์ด้วยเช่นกัน