- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 19-25 กุมภาพันธ์ 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ปริมาณ 0.105 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 อีก 0.115 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ปริมาณ 0.495 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 7.80 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 67.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 – 31 มีนาคท 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,255 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,190 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,891 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,888 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 872 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,149 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 866 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,963 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 186 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 618 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,076 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน 615 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,989 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 87 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 624 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,290 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 620 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,168 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 122 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7209 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลผลิต 513.735 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 512.955 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีปริมาณผลผลิต 513.735 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.15 การใช้ในประเทศ 522.898 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.58 การส่งออก/นำเข้า 52.383 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.79 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 167.182 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 5.20
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปากีสถาน จีน กัมพูชา เมียนมา บราซิล กายานา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม อุรุกวัย ปารากวัย และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป อิรัก ไอเวอรี่โคสต์ เซเนกัล อิหร่าน บังกลาเทศ เม็กซิโก สหราชอาณาจักร เนปาล เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย จีน เวียดนาม มาเลเซีย แอฟริกาใต้ บราซิล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กินี กานา ญี่ปุ่น เคนยา และโมซัมบิก
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย ไนจีเรีย และญี่ปุ่น
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวม 52,974 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ โดยลุ่มน้ำเจ้าพระยา ใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบํารุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำรวม 14,867 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ ซึ่งปัจจุบันภาพรวมทั้งประเทศใช้น้ำไปแล้ว 13,216 ล้านลูกบาศก์เมตร และเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาใช้น้ำไปแล้ว 4,743 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวนาปรัง พบว่า ทั้งประเทศปลูกข้าวนาปรังไปแล้ว 8.41 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 145 ของแผนการบริหารจัดการน้ำ และเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปลูกข้าวปรังไปแล้ว 5.64 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 186 ของแผนการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมีการทำนาปรังเกินกว่าแผนที่วางไว้ ทำให้ต้องปรับแผนการส่งน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย โดยกรมชลประทานได้ขอความร่วมมือเกษตรกรหากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปรังเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้งดการปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจํากัด เนื่องจากต้องสํารองน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศ ให้มีปริมาณน้ำเพียงพอจนถึงช่วงต้นฤดูฝนตามแผนการบริหารจัดการน้ำที่ได้กำหนดไว้
ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวค่อนข้างทรงตัวหลังจากที่ปรับสูงขึ้นติดต่อกัน 4 สัปดาห์ โดยอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา ท่ามกลางภาวะอุปทานข้าวในประเทศที่มีจำกัด เนื่องจากรัฐบาลยังคงเร่งจัดหาข้าวเพื่อนําไปเก็บไว้ในสต็อกรัฐบาล ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศเริ่มลดลง โดยราคาข้าวนึ่ง 5% ตันละ 542 - 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 19,361 - 19,646 บาท) คงที่เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งวงการค้าข้าวระบุว่า ช่วงนี้ประเทศผู้ซื้อจากแอฟริกาได้ชะลอการสั่งซื้อหลังจากที่ราคาข้าวอินเดียปรับสูงขึ้น
หน่วยงานพัฒนาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป (The Agricultural and Processed Foods Exports Development Authority: APEDA) รายงานว่า ในช่วงเดือนเมษายน - ธันวาคม 2566 การส่งออกข้าวบาสมาติมีมูลค่า 3.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 141.81 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 3.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 118.95 พันล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เนื่องจากความต้องการข้าวจากประเทศต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับสูง เช่น ซาอุดีอาระเบีย และอิรัก นำเข้าข้าวช่วงเดือนเมษายน - ธันวาคม 2566 ปริมาณ 3.54 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.19 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ขณะที่การส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ซึ่งปัจจุบันยังคงมีมาตรการจํากัดการส่งออก ทำให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงเหลือ 8.34 ล้านตัน มูลค่า 3.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 119.31 พันล้านบาท) รวมทั้งการส่งออกธัญพืชมีมูลค่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 278.62 พันล้านบาท) ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ APEDA มีมูลค่า 17.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 638.69 พันล้านบาท) ลดลงร้อยละ 9.14 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7209 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ปริมาณ 0.105 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 อีก 0.115 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ปริมาณ 0.495 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 7.80 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 67.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 – 31 มีนาคท 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,255 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,190 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,891 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,888 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 872 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,149 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 866 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,963 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 186 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 618 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,076 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน 615 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,989 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 87 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 624 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,290 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 620 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,168 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 122 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7209 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลผลิต 513.735 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 512.955 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีปริมาณผลผลิต 513.735 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.15 การใช้ในประเทศ 522.898 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.58 การส่งออก/นำเข้า 52.383 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.79 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 167.182 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 5.20
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปากีสถาน จีน กัมพูชา เมียนมา บราซิล กายานา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม อุรุกวัย ปารากวัย และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป อิรัก ไอเวอรี่โคสต์ เซเนกัล อิหร่าน บังกลาเทศ เม็กซิโก สหราชอาณาจักร เนปาล เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย จีน เวียดนาม มาเลเซีย แอฟริกาใต้ บราซิล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กินี กานา ญี่ปุ่น เคนยา และโมซัมบิก
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย ไนจีเรีย และญี่ปุ่น
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวม 52,974 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ โดยลุ่มน้ำเจ้าพระยา ใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบํารุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำรวม 14,867 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ ซึ่งปัจจุบันภาพรวมทั้งประเทศใช้น้ำไปแล้ว 13,216 ล้านลูกบาศก์เมตร และเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาใช้น้ำไปแล้ว 4,743 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวนาปรัง พบว่า ทั้งประเทศปลูกข้าวนาปรังไปแล้ว 8.41 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 145 ของแผนการบริหารจัดการน้ำ และเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปลูกข้าวปรังไปแล้ว 5.64 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 186 ของแผนการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมีการทำนาปรังเกินกว่าแผนที่วางไว้ ทำให้ต้องปรับแผนการส่งน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย โดยกรมชลประทานได้ขอความร่วมมือเกษตรกรหากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปรังเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้งดการปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจํากัด เนื่องจากต้องสํารองน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศ ให้มีปริมาณน้ำเพียงพอจนถึงช่วงต้นฤดูฝนตามแผนการบริหารจัดการน้ำที่ได้กำหนดไว้
ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวค่อนข้างทรงตัวหลังจากที่ปรับสูงขึ้นติดต่อกัน 4 สัปดาห์ โดยอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา ท่ามกลางภาวะอุปทานข้าวในประเทศที่มีจำกัด เนื่องจากรัฐบาลยังคงเร่งจัดหาข้าวเพื่อนําไปเก็บไว้ในสต็อกรัฐบาล ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศเริ่มลดลง โดยราคาข้าวนึ่ง 5% ตันละ 542 - 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 19,361 - 19,646 บาท) คงที่เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งวงการค้าข้าวระบุว่า ช่วงนี้ประเทศผู้ซื้อจากแอฟริกาได้ชะลอการสั่งซื้อหลังจากที่ราคาข้าวอินเดียปรับสูงขึ้น
หน่วยงานพัฒนาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป (The Agricultural and Processed Foods Exports Development Authority: APEDA) รายงานว่า ในช่วงเดือนเมษายน - ธันวาคม 2566 การส่งออกข้าวบาสมาติมีมูลค่า 3.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 141.81 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 3.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 118.95 พันล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เนื่องจากความต้องการข้าวจากประเทศต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับสูง เช่น ซาอุดีอาระเบีย และอิรัก นำเข้าข้าวช่วงเดือนเมษายน - ธันวาคม 2566 ปริมาณ 3.54 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.19 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ขณะที่การส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ซึ่งปัจจุบันยังคงมีมาตรการจํากัดการส่งออก ทำให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงเหลือ 8.34 ล้านตัน มูลค่า 3.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 119.31 พันล้านบาท) รวมทั้งการส่งออกธัญพืชมีมูลค่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 278.62 พันล้านบาท) ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ APEDA มีมูลค่า 17.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 638.69 พันล้านบาท) ลดลงร้อยละ 9.14 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7209 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.23 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.72 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,452.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 295.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,561.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 109.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2566/67 มีปริมาณ 1,210.76 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,166.19 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 3.82 โดย สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก แคนาดา อียิปต์ ญี่ปุ่น อาร์เจนตินา เวียดนาม อินโดนีเซีย
แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และรัสเซีย มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 197.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 180.72 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 9.53 โดย บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา เมียนมาร์ และเซอร์เบีย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น จีน เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
และเวียดนาม มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 409.00 เซนต์ (5,817.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 424.00 เซนต์ (6,036.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.54 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 219.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ
โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.518 ล้านตัน (ร้อยละ 19.75 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.452 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 3.10 บาท
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.51 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.47 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.54
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.07 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.25
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,010 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,990 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,620 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 573 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,600 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.09
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.315 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.237 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.063 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.191 ล้านตันของเดือนมกราคม คิดเป็นร้อยละ 23.71 และร้อยละ 24.08 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.97 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.85
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.45 บาท ลดลงจาก กก.ละ 33.03 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.76
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,966.06 ริงกิตมาเลเซีย (30.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,941.70 ริงกิตมาเลเซีย (30.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.62
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 992.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 976.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.64
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไทย-บราซิล จับมือร่วมกันลงนามยุติคดีพิพาทน้ำตาลในองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นการถาวร หลังไทยปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โดยกรณีพิพาทดังกล่าว สืบเนื่องจากที่บราซิลฟ้องร้องไทยว่า ระบบอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยขัดต่อกฎเกณฑ์การอุดหนุนของ WTO และได้ยื่นคำขอหารือกับไทยภายใต้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO เมื่อปี 2559 ซึ่งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 8 ปี โดยไทยได้แสดงความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขข้อห่วงกังวลของบราซิลและได้พยายามปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภายในประเทศให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ WTO ในเรื่องการอุดหนุน จนในที่สุดนำมาซึ่งการลงนามระหว่างสองฝ่ายในข้อตกลงเพื่อยุติคดีน้ำตาลใน WTO เป็นการถาวรได้ (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ)
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- โรงงานน้ำตาลเมืองเดห์ราดูน (Dehradun) รัฐอุตตราขัณฑ์ (Uttarakhand) ประเทศอินเดีย กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอ้อย โดยความสามารถในการหีบอ้อยในแต่ละวันของโรงงานอยู่ที่ 2,500 ตัน แต่อุปทานที่ไม่เพียงพอทำให้การดำเนินการเป็นไปได้ยาก ส่งผลให้โรงงานต้องเริ่มกระบวนการสรุปสิ้นสุดฤดูการหีบอ้อย ซึ่งจะมีการแจ้งครั้งแรกในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 (ที่มา: chinimandi)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,155.05 เซนต์ (15.34 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,176.80 เซนต์ (15.64 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.85
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 339 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.25 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 344.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.57
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 46.62 เซนต์ (35.54 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 46.43 เซนต์ (37.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.90
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,155.05 เซนต์ (15.34 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,176.80 เซนต์ (15.64 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.85
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 339 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.25 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 344.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.57
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 46.62 เซนต์ (35.54 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 46.43 เซนต์ (37.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.90
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 980.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 979.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 754.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.93 บาท/กก.) คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,374.80 ดอลลาร์สหรัฐ (49.11 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,372.80 ดอลลาร์สหรัฐ (49.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 924.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 922.60 ดอลลาร์สหรัฐ (32.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 749.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.78 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 748.20 ดอลลาร์สหรัฐ (26.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.62 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.98
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.74 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,145 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,140 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,629 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,616 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 967 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 958 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.94 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตสูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.85 คิดเป็นร้อยละ 0.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.88 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.85 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.48 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,500 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.00 คิดเป็นร้อยละ 3.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.14 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.64 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 13.50 คิดเป็นร้อยละ 7.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.75 คิดเป็นร้อยละ 0.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.63 คิดเป็นร้อยละ 0.66 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 356 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 358 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 359 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 414 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 422 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 436 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 379 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 437 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 440 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.33 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.57 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.28 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 64.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.39 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.25 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตสูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.85 คิดเป็นร้อยละ 0.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.88 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.85 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.48 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,500 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.00 คิดเป็นร้อยละ 3.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.14 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.64 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 13.50 คิดเป็นร้อยละ 7.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.75 คิดเป็นร้อยละ 0.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.63 คิดเป็นร้อยละ 0.66 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 356 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 358 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 359 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 414 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 422 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 436 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 379 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 437 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 440 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.33 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.57 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.28 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 64.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.39 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.25 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 19 – 25 กุมภาพันธ์ 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.10 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.95 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.28 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 124.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.21 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.19 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 69.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.35 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.09 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 19 – 25 กุมภาพันธ์ 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.10 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.95 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.28 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 124.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.21 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.19 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 69.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.35 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.09 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา