- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 4-10 มีนาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดเดือนมีนาคม 2567 ปริมาณ 0.045 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 อีก 0.070 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.88 ร้อยละ 8.19 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมีนาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.037 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 32.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิต จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็น ร้อยละ 67.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 – 31 มีนาคท 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,326 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,277 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,723 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,806 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 20,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 อินเดีย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกรอินเดีย คาดการณ์ผลผลิตข้าว ปีการเพาะปลูก 2566/67 (เดือนกรกฎาคม 2566 - มิถุนายน 2567) มีปริมาณ 123.80 ล้านตัน ลดลงจาก 135.75 ล้านตัน ในปีการเพาะปลูก 2565/66 หรือลดลงร้อยละ 8.80 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวประสบอุทกภัย และเผชิญกับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้ราคาข้าวภายในประเทศปรับสูงขึ้น ดังนั้น อินเดียจึงบังคับใช้มาตรการจำกัดการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ ข้าวบาสมาติที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ต่อไป เพื่อควบคุมราคาข้าวภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม มาตรการจำกัดการส่งออกข้าวของอินเดียที่ปัจจุบันยังคงบังคับใช้ต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ราคาอาหารในตลาดโลกปรับสูงขึ้น เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ เช่น ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และเมียนมา ผลิตข้าวได้ปริมาณลดลงเช่นกัน
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
2.2 ไทย
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นช่วงการเข้าร่วมประชุมติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ
ครั้งที่ 13 (The WTO’s 13th Ministerial Conference : MC13) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดย นาย Abdou Karim Fofana รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและเล็กของสาธารณรัฐเซเนกัล ได้ขอเข้าพบและหารือในระดับทวิภาคี ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงการค้าฯ ของเซเนกัลสนใจที่จะสั่งซื้อข้าวจากไทยในปี 2567 เนื่องจากเซเนกัลไม่สามารถเพาะปลูกข้าวให้เพียงพอ
ต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ และเพื่อลดความกังวลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ จึงมีความต้องการนำเข้าข้าวเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ ทั้งนี้ เซเนกัลเป็นประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญ
ของไทย โดยในช่วงปี 2565 - 2566 เซเนกัลนำเข้าข้าวจากไทยประมาณปีละ 200,000 ตัน ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิไทยร้อยละ 80 ของปริมาณการนำเข้าข้าวทั้งหมด และในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 นำเข้าข้าวจากไทยประมาณ 60,000 ตัน
ในการนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้มอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศเจรจากับเซเนกัลเพื่อให้ทราบข้อมูลทั้งปริมาณและราคาข้าวที่ต้องการให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยขอให้เซเนกัลสนับสนุนนำเข้าข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น และแสดงความพร้อมที่จะเป็นแหล่งนำเข้าข้าวจากไทยด้วย ซึ่งไทยสามารถส่งมอบข้าวที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานให้เซเนกัลได้ในทุกสถานการณ์
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดเดือนมีนาคม 2567 ปริมาณ 0.045 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 อีก 0.070 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.88 ร้อยละ 8.19 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมีนาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.037 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 32.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิต จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็น ร้อยละ 67.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 – 31 มีนาคท 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,326 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,277 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,723 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,806 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 20,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 อินเดีย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกรอินเดีย คาดการณ์ผลผลิตข้าว ปีการเพาะปลูก 2566/67 (เดือนกรกฎาคม 2566 - มิถุนายน 2567) มีปริมาณ 123.80 ล้านตัน ลดลงจาก 135.75 ล้านตัน ในปีการเพาะปลูก 2565/66 หรือลดลงร้อยละ 8.80 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวประสบอุทกภัย และเผชิญกับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้ราคาข้าวภายในประเทศปรับสูงขึ้น ดังนั้น อินเดียจึงบังคับใช้มาตรการจำกัดการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ ข้าวบาสมาติที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ต่อไป เพื่อควบคุมราคาข้าวภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม มาตรการจำกัดการส่งออกข้าวของอินเดียที่ปัจจุบันยังคงบังคับใช้ต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ราคาอาหารในตลาดโลกปรับสูงขึ้น เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ เช่น ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และเมียนมา ผลิตข้าวได้ปริมาณลดลงเช่นกัน
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
2.2 ไทย
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นช่วงการเข้าร่วมประชุมติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ
ครั้งที่ 13 (The WTO’s 13th Ministerial Conference : MC13) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดย นาย Abdou Karim Fofana รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและเล็กของสาธารณรัฐเซเนกัล ได้ขอเข้าพบและหารือในระดับทวิภาคี ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงการค้าฯ ของเซเนกัลสนใจที่จะสั่งซื้อข้าวจากไทยในปี 2567 เนื่องจากเซเนกัลไม่สามารถเพาะปลูกข้าวให้เพียงพอ
ต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ และเพื่อลดความกังวลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ จึงมีความต้องการนำเข้าข้าวเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ ทั้งนี้ เซเนกัลเป็นประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญ
ของไทย โดยในช่วงปี 2565 - 2566 เซเนกัลนำเข้าข้าวจากไทยประมาณปีละ 200,000 ตัน ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิไทยร้อยละ 80 ของปริมาณการนำเข้าข้าวทั้งหมด และในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 นำเข้าข้าวจากไทยประมาณ 60,000 ตัน
ในการนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้มอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศเจรจากับเซเนกัลเพื่อให้ทราบข้อมูลทั้งปริมาณและราคาข้าวที่ต้องการให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยขอให้เซเนกัลสนับสนุนนำเข้าข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น และแสดงความพร้อมที่จะเป็นแหล่งนำเข้าข้าวจากไทยด้วย ซึ่งไทยสามารถส่งมอบข้าวที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานให้เซเนกัลได้ในทุกสถานการณ์
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.77 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.80 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.74
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.32 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 296.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,507.00 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 293.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,440.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 67.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 432.00 เซนต์ (6,107.00 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 411.00 เซนต์ (5,842.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.11 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 265.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.644 ล้านตัน (ร้อยละ 20.20 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.452 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.08 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 3.11 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.96
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.56 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.55 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.13
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.55 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.36 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.27
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.10 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.09 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.05
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 255.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,120 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 251.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,030 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.49
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,480 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,580 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.717 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.309 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.407 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตันของเดือนกุมภาพันธ์
คิดเป็นร้อยละ 22.03 และร้อยละ 22.13 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.26 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.28
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.23 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 32.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.84
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,133.95 ริงกิตมาเลเซีย (31.72 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,004.15 ริงกิตมาเลเซีย (30.64 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.24
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,040.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37.29 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,007.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.23
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- Datagro รายงานว่า ในปี 2566/2567 บราซิลน่าจะมีการส่งออกน้ำตาลสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 32.80 ล้านตัน โดยวิเคราะห์จากการคาดการณ์อัตราการส่งออกที่สูงขึ้นของเดือนมีนาคม 2567 ที่ 1.80 ล้านตัน และกล่าวเสริมว่า การส่งออกน้ำตาลของบราซิลสามารถส่งออกได้เกือบ 3 ล้านตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่มีฝน ด้านบริษัทที่ปรึกษา Pecege Consultoria e Projetos คาดการณ์ว่า ในปี 2567/2568 ปริมาณอ้อยในภาคกลาง – ใต้ของบราซิล อยู่ที่ 597.92 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 7.90 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ขาดฝนจะส่งผลให้ปริมาณอ้อยต่อเฮกตาร์ลดลงร้อยละ 8.10
- องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) รายงานว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) อ่อนกำลังลง แม้ว่าอุณหภูมิยังคงเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2567 โดย WMO คาดการณ์ว่า โอกาสที่ปรากฏการณ์เอลนีโญจะพัฒนามีกำลังปานกลางในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 อยู่ที่ร้อยละ 80 และกล่าวเสริมว่า โอกาสที่จะเกิดปรากฏการณ์ลานีญา (La Nina) ในช่วงปลายปีนี้ยังคงไม่แน่นอน
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,151.04 เซนต์ (15.17 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,134.48 เซนต์ (15.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.46
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 336.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.07 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 332.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.98 บาท/กก.)ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.31
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.07 เซนต์ (35.63 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 44.65 เซนต์ (35.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.94
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,151.04 เซนต์ (15.17 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,134.48 เซนต์ (15.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.46
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 336.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.07 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 332.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.98 บาท/กก.)ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.31
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.07 เซนต์ (35.63 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 44.65 เซนต์ (35.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.94
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.80
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.66
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.66
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 988.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 982.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 817.40 ดอลลาร์สหรัฐ (28.89 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 771.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.02 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.40 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,385.40 ดอลลาร์สหรัฐ (49.11 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,378 ดอลลาร์สหรัฐ (49.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 931.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 926.50 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 811.8 ดอลลาร์สหรัฐ (28.70 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 765.50 ดอลลาร์สหรัฐ (27.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.05 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.40 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.25 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.08 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.74 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.14
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,145 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,629 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 967 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.88 คิดเป็นร้อยละ 1.99 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.70 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 63.39 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ลดลงจากตัวละ ตัวละ 1,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.67 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.20 คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ ตัวละ 14.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมามา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.50 คิดเป็นร้อยละ 5.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.00 คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 353 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 355 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 355 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 406 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 410 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.98 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 406 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 379 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 432 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 440 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.53 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 62.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 56.47 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.88 คิดเป็นร้อยละ 1.99 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.70 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 63.39 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ลดลงจากตัวละ ตัวละ 1,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.67 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.20 คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ ตัวละ 14.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมามา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.50 คิดเป็นร้อยละ 5.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.00 คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 353 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 355 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 355 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 406 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 410 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.98 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 406 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 379 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 432 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 440 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.53 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 62.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 56.47 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 – 10 มีนาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.10 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 60.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.16 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.01บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.85 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.15 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 128.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.82 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 68.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.35 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.09 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 – 10 มีนาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.10 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 60.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.16 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.01บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.85 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.15 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 128.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.82 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 68.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.35 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.09 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา