- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 มีนาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยเดือนมีนาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.045 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 อีก 0.070 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.47 ร้อยละ 9.83 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมีนาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.142 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 34.33 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิต จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.375 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 70.14 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,190 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,192 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,255 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,290 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,170 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,570 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 855 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,633 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 862 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,483 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 150 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 608 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,783 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 630 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,279 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.49 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 496 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 614 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,998 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 627 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,173 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 175 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.8277 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนมีนาคม 2567 ผลผลิต 515.388 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 514.573 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนมีนาคม 2567มีปริมาณผลผลิต 515.388 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.16 การใช้ในประเทศ 522.865 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.52 การส่งออก/นำเข้า 53.338 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.17 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 169.702 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 4.22
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปากีสถาน จีน กัมพูชา เมียนมา บราซิล กายานา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม อุรุกวัย ปารากวัย สหภาพยุโรป และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ สหภาพยุโรป อิรัก ซาอุดิอาระเบีย ไอเวอรี่โคสต์ เซเนกัล อิหร่าน บังกลาเทศ เม็กซิโก สหราชอาณาจักร เนปาล เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน เวียดนาม มาเลเซีย แอฟริกาใต้ บราซิล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กินี กานา ญี่ปุ่น เคนยา และโมซัมบิก
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน ไทย ไนจีเรีย และปากีสถาน
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินการส่งออกข้าวในภาพรวมของปี 2567 มีปริมาณ 7.5 ล้านตัน แต่จากการติดตามสถานการณ์ การส่งออกข้าวไทยในตลาดโลกในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ยังมีทิศทางและปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสาเหตุที่อินเดียยังคงใช้มาตรการห้ามส่งออกข้าวขาวต่อไปจนถึงปลายปี ประกอบกับอินโดนีเซียมีความต้องการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 3.6 ล้านต้น จากเดิมที่ต้องการ 2.5 ล้าน ทำให้ประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม ปากีสถาน และไทย มีโอกาสที่จะส่งออกข้าวไปยังอินโดนีเซียด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ราคาข้าวขาวของทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว มีราคาใกล้เคียงกับไทยที่ตันละ 610 – 620 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,854.90 – 22,213.17 บาท) ทำให้ไทยสามารถแข่งขันด้านราคาได้
ดังนั้น จากการที่อินเดียยังคงมาตรการห้ามส่งออกข้าวขาว และอินโดนีเซียมีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ในปี 2567 ไทยมีโอกาสที่จะส่งออกข้าวได้มากกว่า 7.5 ล้านตัน แต่จะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ทางสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยอยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์ต่างๆ คาดว่าจะประกาศประมาณการตัวเลขการส่งออกข้าว ในปี 2567 ได้ใหม่ในเร็วๆ นี้ ซึ่งขณะนี้ปริมาณการส่งออกข้าวไทย เฉลี่ยเดือนละประมาณ 800,000 - 900,000 ตัน ทำให้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 คาดว่าไทยจะส่งออกข้าวได้ไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ทิศทาง การส่งออกข้าวไทยในปี 2567 ยังคงเป็นปีทองของเกษตรกรไทย เพราะหากเทียบราคาข้าวเปลือกโดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ราคาเฉลี่ยตันละ 11,000 - 12,000 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่เฉลี่ยตันละ 7,000 - 8,000 บาท ซึ่งราคาดังกล่าว ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ เนื่องจากเป็นราคาที่สูงขึ้นต่อเนื่องจากปี 2566
ที่มา สำนักข่าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.8277 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยเดือนมีนาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.045 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 อีก 0.070 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.47 ร้อยละ 9.83 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมีนาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.142 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 34.33 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิต จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.375 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 70.14 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,190 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,192 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,255 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,290 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,170 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,570 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 855 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,633 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 862 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,483 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 150 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 608 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,783 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 630 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,279 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.49 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 496 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 614 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,998 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 627 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,173 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 175 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.8277 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนมีนาคม 2567 ผลผลิต 515.388 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 514.573 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนมีนาคม 2567มีปริมาณผลผลิต 515.388 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.16 การใช้ในประเทศ 522.865 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.52 การส่งออก/นำเข้า 53.338 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.17 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 169.702 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 4.22
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปากีสถาน จีน กัมพูชา เมียนมา บราซิล กายานา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม อุรุกวัย ปารากวัย สหภาพยุโรป และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ สหภาพยุโรป อิรัก ซาอุดิอาระเบีย ไอเวอรี่โคสต์ เซเนกัล อิหร่าน บังกลาเทศ เม็กซิโก สหราชอาณาจักร เนปาล เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน เวียดนาม มาเลเซีย แอฟริกาใต้ บราซิล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กินี กานา ญี่ปุ่น เคนยา และโมซัมบิก
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน ไทย ไนจีเรีย และปากีสถาน
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินการส่งออกข้าวในภาพรวมของปี 2567 มีปริมาณ 7.5 ล้านตัน แต่จากการติดตามสถานการณ์ การส่งออกข้าวไทยในตลาดโลกในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ยังมีทิศทางและปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสาเหตุที่อินเดียยังคงใช้มาตรการห้ามส่งออกข้าวขาวต่อไปจนถึงปลายปี ประกอบกับอินโดนีเซียมีความต้องการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 3.6 ล้านต้น จากเดิมที่ต้องการ 2.5 ล้าน ทำให้ประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม ปากีสถาน และไทย มีโอกาสที่จะส่งออกข้าวไปยังอินโดนีเซียด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ราคาข้าวขาวของทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว มีราคาใกล้เคียงกับไทยที่ตันละ 610 – 620 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,854.90 – 22,213.17 บาท) ทำให้ไทยสามารถแข่งขันด้านราคาได้
ดังนั้น จากการที่อินเดียยังคงมาตรการห้ามส่งออกข้าวขาว และอินโดนีเซียมีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ในปี 2567 ไทยมีโอกาสที่จะส่งออกข้าวได้มากกว่า 7.5 ล้านตัน แต่จะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ทางสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยอยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์ต่างๆ คาดว่าจะประกาศประมาณการตัวเลขการส่งออกข้าว ในปี 2567 ได้ใหม่ในเร็วๆ นี้ ซึ่งขณะนี้ปริมาณการส่งออกข้าวไทย เฉลี่ยเดือนละประมาณ 800,000 - 900,000 ตัน ทำให้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 คาดว่าไทยจะส่งออกข้าวได้ไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ทิศทาง การส่งออกข้าวไทยในปี 2567 ยังคงเป็นปีทองของเกษตรกรไทย เพราะหากเทียบราคาข้าวเปลือกโดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ราคาเฉลี่ยตันละ 11,000 - 12,000 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่เฉลี่ยตันละ 7,000 - 8,000 บาท ซึ่งราคาดังกล่าว ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ เนื่องจากเป็นราคาที่สูงขึ้นต่อเนื่องจากปี 2566
ที่มา สำนักข่าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.8277 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.95 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.11 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5%
สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.11 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.14
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.34 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 291.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,419.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 298.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,524.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 105.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2566/67 มีปริมาณ 1,212.24 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,166.56 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 3.92 โดย สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล สหภาพยุโรป เม็กซิโก แคนาดา อียิปต์ ญี่ปุ่น อาร์เจนตินา อินโดนีเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ และรัสเซีย
มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 197.50 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 180.67 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 9.32 โดย สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา เมียนมาร์ เซอร์เบีย และตุรกี ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น จีน เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม อิหร่าน อียิปต์ โคลอมเบีย แอลจีเรีย ซาอุดีอาระเบีย ไต้หวัน มาเลเซีย เปรู แคนาดา โมร็อกโก อังกฤษ ชิลี บราซิล กัวเตมาลา ไทย อิสราเอล สาธารณรัฐโดมินิกัน และบังกลาเทศ มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 439.00 เซนต์ (6,262.00 บาท/ตัน) ทรงตัวเท่ากับบุชเชลละ 439.00 เซนต์ (6,184.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 78.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.644 ล้านตัน (ร้อยละ 20.20 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.452 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.03 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 3.04 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.33
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.40 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.16
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.11 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.39 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.34
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,000 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 255.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,070 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.76
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,590 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,360 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.717 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.309 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.407 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตันของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 22.03 และร้อยละ 22.13 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.52 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.80 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 34.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.35
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,328.84 ริงกิตมาเลเซีย (33.51 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,229.48 ริงกิตมาเลเซีย (32.59 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.35
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,107.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.12 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,086.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.93
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- สำนักงานเลขาธิการกระทรวงการค้าต่างประเทศ (Secex) ของประเทศบราซิล รายงานข้อมูลว่า จนถึงขณะนี้ ในเดือนมีนาคม 2567 บราซิลส่งออกน้ำตาลจำนวน 1.58 ล้านตัน คิดเป็นอัตราการนำน้ำตาลลงเรือรายวันอยู่ที่ 143,369 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา
- บริษัทที่ปรึกษา Pecege รายงานว่า ต้นทุนการปลูกอ้อย ปี 2566/2567 ในภาคกลาง – ใต้ของประเทศบราซิล ลดลงร้อยละ 17.30 เนื่องจากปริมาณน้ำตาลต่อเฮกตาร์ที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันดีเซล ปุ๋ย รวมถึงปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำตาลต่อเฮกตาร์อาจลดลงอีกครั้งในปี 2567/2568 ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 18.59 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,197.36 เซนต์ (15.94 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,181.48 เซนต์ (15.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.34
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 338.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.26 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 333.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.31
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 48.45 เซนต์ (38.70 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 47.73 เซนต์ (38.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.51
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 18.59 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,197.36 เซนต์ (15.94 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,181.48 เซนต์ (15.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.34
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 338.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.26 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 333.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.31
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 48.45 เซนต์ (38.70 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 47.73 เซนต์ (38.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.51
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.24 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 978.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 991.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 809.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.93 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 820.40 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,371.60 ดอลลาร์สหรัฐ (49.03 บาท/กก.) ลดงลงจากตันละ 1,389.40 ดอลลาร์สหรัฐ (49.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 922.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 934.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 803.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.73 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 814.40 ดอลลาร์สหรัฐ (28.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.82 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.59 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.70 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.73 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.71
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,019 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,978 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,503 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 967 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 63.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.28 คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 64.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.33 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.20 คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.54 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท บาท สูงขึ้นจากตัวละ 15.50 คิดเป็นร้อยละ 6.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 คิดเป็นร้อยละ 2.35 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 350 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 349 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 406 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 408 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 429 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 378 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 424 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 440 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.29 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.19 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.55 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 63.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.53 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.16 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 63.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.28 คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 64.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.33 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.20 คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.54 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท บาท สูงขึ้นจากตัวละ 15.50 คิดเป็นร้อยละ 6.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 คิดเป็นร้อยละ 2.35 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 350 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 349 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 406 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 408 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 429 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 378 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 424 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 440 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.29 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.19 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.55 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 63.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.53 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.16 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 – 24 มีนาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.87 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.36 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.29 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.52 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.01 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 66.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.82 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.14 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 – 24 มีนาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.87 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.36 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.29 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.52 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.01 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 66.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.82 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.14 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา