- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 เมษายน 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยเดือนเมษายน 2567 ผลผลิต
ออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.054 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนพฤษภาคม 2567 อีก 0.015 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.47 ร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนเมษายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.233 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 35.81 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2567 อีก 1.375 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 22.04 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,920 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,932 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,386 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,224 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,130 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 31,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 19,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.51
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 848 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,167 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 861 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,222 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 55 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 602 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,125 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน 597 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,649 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 476 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 599 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,015 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 594 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,540 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 475 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.7532 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนเมษายน 2567 ผลผลิต 515.526 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 514.424 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.21
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนเมษายน 2567 มีปริมาณผลผลิต 515.526 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.21 การใช้ในประเทศ 521.346 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.33 การส่งออก/นำเข้า 53.448 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.43 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 172.152 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 3.27
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปากีสถาน กัมพูชา เมียนมา จีน กายานา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย สหภาพยุโรป และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป เวียดนาม อิรัก ซาอุดิอาระเบีย ไอเวอรี่โคสต์ เซเนกัล อิหร่าน บราซิล เบอร์กินาฟาโซ เม็กซิโก สหราชอาณาจักร เนปาล เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน มาเลเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กินี กานา ญี่ปุ่น เคนยา และโมซัมบิก
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน ไทย และไนจีเรีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (WAVE BCG Co., Ltd.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ รวมทั้งภาคธุรกิจของไทยบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้กลไกใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates: RECs) และคาร์บอนเครดิต รวมทั้งส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกันและแบ่งปันความรู้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับองค์กร ประเทศชาติ และโลกโดยรวม ซึ่งความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK และ WAVE BCG Co., Ltd. ในครั้งนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายของ EXIM BANK สู่การเป็น Green Development Bank และตอบสนองนโยบายรัฐบาล ตลอดจนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ขณะที่ WAVE BCG Co., Ltd. เป็นผู้ให้บริการจัดหาและซื้อขาย RECs ครบวงจรอันดับต้นๆ ของประเทศไทย มีความสามารถในการจัดหา RECs จากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จำนวน 8,000,000 RECs ต่อปี และตั้งเป้าหมายเพิ่ม RECs เป็น 15,000,000 RECs ต่อปี เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยบรรลุเป้าหมายในการลดหรือชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานและมีขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกเพิ่มมากขึ้น
นายเจมส์ แอนดริว มอร์ กล่าวว่า WAVE BCG Co., Ltd. อยู่ระหว่างการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการทั่วโลกได้รับการกดดันจากปัญหาโลกร้อนให้ต้องปรับตัวเพื่อเป็นทางรอดไม่ใช่ทางเลือก ดังนั้น ความร่วมมือระหว่าง WAVE BCG Co., Ltd. กับ EXIM BANK ในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศที่ปัจจุบัน ยังอยู่ในระดับสูงจาก 2 แหล่งผลิตหลัก ได้แก่ ภาคพลังงาน และภาคการเกษตร โดยจะผลักดันให้ผู้ประกอบการรวมทั้งเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้ RECs เป็นกลไกในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย โดยเริ่มดำเนินการในลักษณะนำร่องภายใต้โครงการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกสินค้าเกษตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรของไทย
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการบุกเบิกเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมให้เกิดการซื้อขายคาร์บอนเครดิต กระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้และลงมือทำจริงในการสร้างระบบนิเวศคาร์บอนต่ำ ตั้งแต่ต้นน้ำในภาคเกษตรกรรมจนถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก อาทิ ก๊าซมีเทน ตั้งแต่แปลงนาข้าวไปจนถึงการส่งเสริมให้มีผู้รับซื้อข้าวที่มีก๊าซมีเทนต่ำ และในอนาคต EXIM BANK จะขยายความร่วมมือกับพันธมิตรอื่นๆ ต่อไป เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดโซ่อุปทานการส่งออก ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ EXIM BANK ตั้งเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2573 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 รวมทั้งมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนให้เป็นร้อยละ 50 ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดภายในปี 2571 ขณะเดียวกัน WAVE BCG Co., Ltd. ตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยและประชาคมโลก โดยใช้ RECs เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญสำหรับส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มากขึ้น ในรูปแบบของการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ทำให้ทุกภาคส่วน รวมถึงประชาชนในสังคมสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ และมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
2) บังกลาเทศ
กระทรวงการอาหารของบังกลาเทศ ได้ออกประกาศกระทรวงฯ อนุญาตนำเข้าข้าวและจัดสรรปริมาณนำเข้าใหแก่บริษัทเอกชนจำนวน 30 บริษัท รวมทั้งสิ้น 127,000 ตัน จำแนกเป็น ข้าวขาว 33,000 ตัน ข้าวนึ่ง 91,000 ตัน และข้าวอื่นๆ 3,000 ตัน โดยมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งการปรับขึ้นราคาข้าวในตลาดคาปลีกทั่วประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้นำเข้าเพื่อกำกับการจำหน่ายข้าวในตลาดภายในประเทศ ดังนี้
(1) ตองนำเข้าและจำหน่ายในตลาดฯ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 (2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตนำเขาข้าวจะตองแจ้งปริมาณนำเขา และปริมาณคงเหลือตอหน่วยงานระดับอำเภอของกระทรวงการอาหาร (3) กระทรวงการอาหารสงวนสิทธิ์การอนุญาตนําเขาเพิ่มเติม และ (4) ข้าวที่นำเข้าห้ามบรรจุถุงใหม่ ต้องบรรจุในถุงที่ออกจากโรงงานผลิต และตองจำหน่ายข้าวตามบรรจุภัณฑ์เดิมที่นําเขา
ในการนี้ บริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้นําเขาข้าวจะได้รับสิทธิลดหยอนภาษีนำเข้าข้าวในอัตราใหม่ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ จากเดิมเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 62.50 ปรับลดลงเหลืออัตราร้อยละ 15.25 โดยสิทธิ
ลดหยอนภาษีนี้จะสิ้นสุดในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ ราคาข้าวคุณภาพต่ำในเมืองธากา กิโลกรัมละ 52 ตากา (กิโลกรัมละ 17.60 บาท) สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48 ตากา (กิโลกรัมละ 16.24 บาท) ซึ่งการจัดสรรปริมาณนำเข้าข้าวดังกล่าว ได้สะทอนถึงความท้าทายดานความมั่นคงทางอาหารของบังกลาเทศ รวมทั้งความท้าทายในการกำกับผู้ประกอบการนำเข้าข้าวรายใหญ่ด้วย
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ตากา เท่ากับ 0.3372 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยเดือนเมษายน 2567 ผลผลิต
ออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.054 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนพฤษภาคม 2567 อีก 0.015 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.47 ร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนเมษายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.233 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 35.81 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2567 อีก 1.375 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 22.04 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,920 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,932 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,386 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,224 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,130 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 31,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 19,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.51
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 848 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,167 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 861 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,222 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 55 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 602 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,125 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน 597 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,649 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 476 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 599 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,015 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 594 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,540 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 475 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.7532 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนเมษายน 2567 ผลผลิต 515.526 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 514.424 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.21
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนเมษายน 2567 มีปริมาณผลผลิต 515.526 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.21 การใช้ในประเทศ 521.346 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.33 การส่งออก/นำเข้า 53.448 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.43 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 172.152 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 3.27
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปากีสถาน กัมพูชา เมียนมา จีน กายานา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย สหภาพยุโรป และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป เวียดนาม อิรัก ซาอุดิอาระเบีย ไอเวอรี่โคสต์ เซเนกัล อิหร่าน บราซิล เบอร์กินาฟาโซ เม็กซิโก สหราชอาณาจักร เนปาล เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน มาเลเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กินี กานา ญี่ปุ่น เคนยา และโมซัมบิก
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน ไทย และไนจีเรีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (WAVE BCG Co., Ltd.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ รวมทั้งภาคธุรกิจของไทยบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้กลไกใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates: RECs) และคาร์บอนเครดิต รวมทั้งส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกันและแบ่งปันความรู้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับองค์กร ประเทศชาติ และโลกโดยรวม ซึ่งความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK และ WAVE BCG Co., Ltd. ในครั้งนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายของ EXIM BANK สู่การเป็น Green Development Bank และตอบสนองนโยบายรัฐบาล ตลอดจนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ขณะที่ WAVE BCG Co., Ltd. เป็นผู้ให้บริการจัดหาและซื้อขาย RECs ครบวงจรอันดับต้นๆ ของประเทศไทย มีความสามารถในการจัดหา RECs จากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จำนวน 8,000,000 RECs ต่อปี และตั้งเป้าหมายเพิ่ม RECs เป็น 15,000,000 RECs ต่อปี เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยบรรลุเป้าหมายในการลดหรือชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานและมีขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกเพิ่มมากขึ้น
นายเจมส์ แอนดริว มอร์ กล่าวว่า WAVE BCG Co., Ltd. อยู่ระหว่างการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการทั่วโลกได้รับการกดดันจากปัญหาโลกร้อนให้ต้องปรับตัวเพื่อเป็นทางรอดไม่ใช่ทางเลือก ดังนั้น ความร่วมมือระหว่าง WAVE BCG Co., Ltd. กับ EXIM BANK ในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศที่ปัจจุบัน ยังอยู่ในระดับสูงจาก 2 แหล่งผลิตหลัก ได้แก่ ภาคพลังงาน และภาคการเกษตร โดยจะผลักดันให้ผู้ประกอบการรวมทั้งเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้ RECs เป็นกลไกในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย โดยเริ่มดำเนินการในลักษณะนำร่องภายใต้โครงการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกสินค้าเกษตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรของไทย
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการบุกเบิกเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมให้เกิดการซื้อขายคาร์บอนเครดิต กระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้และลงมือทำจริงในการสร้างระบบนิเวศคาร์บอนต่ำ ตั้งแต่ต้นน้ำในภาคเกษตรกรรมจนถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก อาทิ ก๊าซมีเทน ตั้งแต่แปลงนาข้าวไปจนถึงการส่งเสริมให้มีผู้รับซื้อข้าวที่มีก๊าซมีเทนต่ำ และในอนาคต EXIM BANK จะขยายความร่วมมือกับพันธมิตรอื่นๆ ต่อไป เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดโซ่อุปทานการส่งออก ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ EXIM BANK ตั้งเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2573 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 รวมทั้งมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนให้เป็นร้อยละ 50 ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดภายในปี 2571 ขณะเดียวกัน WAVE BCG Co., Ltd. ตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยและประชาคมโลก โดยใช้ RECs เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญสำหรับส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มากขึ้น ในรูปแบบของการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ทำให้ทุกภาคส่วน รวมถึงประชาชนในสังคมสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ และมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
2) บังกลาเทศ
กระทรวงการอาหารของบังกลาเทศ ได้ออกประกาศกระทรวงฯ อนุญาตนำเข้าข้าวและจัดสรรปริมาณนำเข้าใหแก่บริษัทเอกชนจำนวน 30 บริษัท รวมทั้งสิ้น 127,000 ตัน จำแนกเป็น ข้าวขาว 33,000 ตัน ข้าวนึ่ง 91,000 ตัน และข้าวอื่นๆ 3,000 ตัน โดยมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งการปรับขึ้นราคาข้าวในตลาดคาปลีกทั่วประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้นำเข้าเพื่อกำกับการจำหน่ายข้าวในตลาดภายในประเทศ ดังนี้
(1) ตองนำเข้าและจำหน่ายในตลาดฯ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 (2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตนำเขาข้าวจะตองแจ้งปริมาณนำเขา และปริมาณคงเหลือตอหน่วยงานระดับอำเภอของกระทรวงการอาหาร (3) กระทรวงการอาหารสงวนสิทธิ์การอนุญาตนําเขาเพิ่มเติม และ (4) ข้าวที่นำเข้าห้ามบรรจุถุงใหม่ ต้องบรรจุในถุงที่ออกจากโรงงานผลิต และตองจำหน่ายข้าวตามบรรจุภัณฑ์เดิมที่นําเขา
ในการนี้ บริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้นําเขาข้าวจะได้รับสิทธิลดหยอนภาษีนำเข้าข้าวในอัตราใหม่ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ จากเดิมเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 62.50 ปรับลดลงเหลืออัตราร้อยละ 15.25 โดยสิทธิ
ลดหยอนภาษีนี้จะสิ้นสุดในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ ราคาข้าวคุณภาพต่ำในเมืองธากา กิโลกรัมละ 52 ตากา (กิโลกรัมละ 17.60 บาท) สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48 ตากา (กิโลกรัมละ 16.24 บาท) ซึ่งการจัดสรรปริมาณนำเข้าข้าวดังกล่าว ได้สะทอนถึงความท้าทายดานความมั่นคงทางอาหารของบังกลาเทศ รวมทั้งความท้าทายในการกำกับผู้ประกอบการนำเข้าข้าวรายใหญ่ด้วย
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ตากา เท่ากับ 0.3372 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.60 บาท และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.75 บาท ส่วนราคาสัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคา
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.18 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 280.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,276.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 285.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,395.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75 และลดลงใน รูปของเงินบาทตันละ 119.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 440.00 เซนต์ (6,442.00 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 431.00 เซนต์ (6,266.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.09 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 176.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.877 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.21 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.134 ล้านตัน (ร้อยละ 7.94 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.712 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังปรับลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.57 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.70 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.81
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.94 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.58
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.45 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.72 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.50
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 237.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,770 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 241.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,870 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.93
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,990 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (20,840 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- สื่อท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย รายงานว่า รัฐบาลอินโดนีเซียได้ปรับเพิ่มราคาซื้อขายน้ำตาลขั้นต้น (HAP) จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2567 ตามคำขอของทางสมาคมผู้ค้าปลีกน้ำตาลอินโดนีเซีย (Aprindo) ที่ระบุว่าไม่สามารถขายน้ำตาลในราคาที่ต่ำกว่าราคาซื้อขายน้ำตาลขั้นต้นที่รัฐบาลกำหนดได้ ด้านสมาคมน้ำตาลอินโดนีเซีย (AGI) กล่าวว่า การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำตาลภายในประเทศมีความสำคัญต่อความเป็นไปได้ในการนำเข้าน้ำตาลของอินโดนีเซีย โดย AGI ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า มีภาวะการขาดแคลนน้ำตาลในตลาดขายปลีกภายในประเทศของอินโดนีเซีย แต่ปริมาณน้ำตาลสำรองสำหรับการบริโภคที่ 330,000 ตัน จะยังคงเพียงพอจนกว่าจะเริ่มดำเนินการเปิดหีบในเดือนพฤษภาคม 2567
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,163.24 เซนต์ (15.89 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,147.44 เซนต์ (15.59 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.38
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 343.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.78 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 338.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 44.95 เซนต์ (36.82 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 44.78 เซนต์ (36.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.38
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,163.24 เซนต์ (15.89 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,147.44 เซนต์ (15.59 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.38
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 343.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.78 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 338.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 44.95 เซนต์ (36.82 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 44.78 เซนต์ (36.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.38
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 953.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 959.33 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 816.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 821.33 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 และคงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,336.80 ดอลลาร์สหรัฐ (49.14 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,345.00 ดอลลาร์สหรัฐ (49.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 953.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 959.33 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 838.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 843.33 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และคงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.39 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.87 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,984 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,154 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,493 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,616 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 954 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.08 คิดเป็นร้อยละ 4.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 62.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.63 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.63 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 1,800 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.98 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.95 คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.66 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 350 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 341บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 356 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 355 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 372 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.38
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 414 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 413 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 416 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 432 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 432 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 460 บาทสูงขึ้นจากร้อยฟองละ 440 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.54
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 85.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 86.78 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.96 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.03 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 62.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.16 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 55.89 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 – 28 เมษายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.88 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.89 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.83 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.26 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 126.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.25
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.04 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.57 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.97 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 – 28 เมษายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.88 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.89 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.83 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.26 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 126.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.25
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.04 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.57 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.97 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา