- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 พฤษภาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.310 ล้านไร่ ผลผลิต 26.308 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 422 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62 ร้อยละ 2.89 และ ร้อยละ 2.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี และในปี 2567
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่าสภาพภูมิอากาศเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 จะอยู่ในสภาวะเอลนีโญ แต่มีแนวโน้มสูงที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2567 และมีแนวโน้มจะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเพาะปลูกและระยะเจริญเติบโต เกษตรกรจึงขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ปล่อยว่างเมื่อปี 2566 สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คาดการณ์ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ 16.884 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 64.18 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.47 ร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนพฤษภาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.851 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 13.64 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม 2567 อีก 0.524 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.40 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,553 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,420 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,880 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,829 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,675 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,825 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 21,590 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 913 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,970 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 912 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,063 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่ลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 93 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 649 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,436 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (23,528 บาท/ตัน) แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 92 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 633 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,859 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 632 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,912 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 53 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.1117 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) จีน
รัฐบาลจีนโดยกระทรวงการคลัง (The Ministry of Finance) กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท (The Ministry of Agriculture and Rural Affairs) และหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของรัฐ (The State Administration of Financial Supervision) ได้ประกาศนโยบายกรมธรรม์ประกันภัยค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน กรมธรรม์ประกันรายได้จากการปลูกข้าว และกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับข้าวโพดและข้าวสาลี โดยรัฐบาลจะใช้นโยบายดังกล่าวทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองการประกันทางการเกษตร รักษารายได้ของเกษตรกร อํานวยความสะดวกในการพัฒนาพื้นที่ชนบท และปรับปรุงความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งประกาศฯ จะมีการลงวันที่ย้อนหลัง โดยบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เพื่อคุ้มครองเกษตรกรและองค์กรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ทางการเกษตร
กระทรวงการจัดการเหตุฉุกเฉิน (The Emergency Management Ministry) รายงานว่า ในเดือนเมษายน 2567 เนื้อที่เก็บเกี่ยวพืชผลของจีนได้รับความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง พายุทราย แผ่นดินไหว ไฟป่า และอุณหภูมิที่จุดเยือกแข็ง ประมาณ 2.37 ล้านไร่ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 14,810 ล้านหยวน (72,929 ล้านบาท) ในการนี้ การประกันภัยค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนจะครอบคลุมการสูญเสียรายได้จากภัยธรรมชาติที่สำคัญ ศัตรูพืชและโรค รวมทั้งอุบัติเหตุจากสัตว์ป่าที่ทำให้เกิดความเสียหาย และความเสี่ยงอื่นๆ ส่วนการประกันรายได้จากการปลูกพืชจะครอบคลุมการสูญเสียที่เกิดจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรและผลผลิต
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 หยวน เท่ากับ 4.9243 บาท
2) บราซิล
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า บราซิลเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักในรัฐ Rio Grande do Sul ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 70 ของการผลิตข้าวทั้งประเทศ คาดว่ามีผลผลิตประมาณ 7.5 ล้านตัน จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่จมอยู่ใต้น้ำ ผลผลิตสูญหายในบางพื้นที่ และอาจสูญเสียผลผลิตประมาณ 1 ล้านตัน ในการนี้ รัฐบาลกลางของบราซิลจึงได้ลงนามในมาตรการชั่วคราวในการอนุญาตให้บริษัทจัดหาธัญพืชแห่งชาติบราซิล (The National Supply Company หรือ Conab) นําเข้าข้าวประมาณ 1 ล้านตัน เพื่อเติมเต็มสต็อกข้าวในประเทศ หลีกเลี่ยงการเก็งกําไร และรักษาระดับราคาข้าวในตลาดภายในประเทศ โดย Conab จะจัดการประกวดราคาสาธารณะ ซึ่งข้าวที่ได้มาจะถูกส่งไปยังผู้ค้าปลีกรายย่อยในเขตปริมณฑล แต่จะไม่นําเข้าข้าวทั้งหมดในคราวเดียวเพื่อไม่ให้กระทบกับผลผลิตของเกษตรกรในท้องถิ่น นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้วางแผนนำเข้าข้าวบรรจุถุง โดยเริ่มต้นจะนำเข้าจำนวน 200,000 ตัน จากประเทศผู้ผลิตในกลุ่ม Mercosur เช่น อาร์เจนตินา ปารากวัย อุรุกวัย และโบลิเวีย
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล รายงานว่า ภาคเอกชนของบราซิลอยู่ระหว่างการเจรจานําเข้าข้าว 75,000 ตัน จากประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับสองของโลกรองจากอินเดีย เพื่อชดเชยการสูญเสียการเก็บเกี่ยวที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วมในรัฐ Rio Grande do Sul ทั้งนี้ การนำเข้าข้าวเป็นหนึ่งในหลายมาตรการของรัฐบาลที่ดำเนินการเพื่อแก้ไขและป้องกันการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวที่อาจเกิดขึ้น จากอุปทานที่ลดลงและการเพาะปลูกล่าช้า
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.310 ล้านไร่ ผลผลิต 26.308 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 422 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62 ร้อยละ 2.89 และ ร้อยละ 2.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี และในปี 2567
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่าสภาพภูมิอากาศเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 จะอยู่ในสภาวะเอลนีโญ แต่มีแนวโน้มสูงที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2567 และมีแนวโน้มจะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเพาะปลูกและระยะเจริญเติบโต เกษตรกรจึงขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ปล่อยว่างเมื่อปี 2566 สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คาดการณ์ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ 16.884 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 64.18 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.47 ร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนพฤษภาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.851 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 13.64 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม 2567 อีก 0.524 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.40 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,553 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,420 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,880 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,829 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,675 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,825 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 21,590 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 913 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,970 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 912 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,063 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่ลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 93 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 649 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,436 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (23,528 บาท/ตัน) แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 92 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 633 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,859 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 632 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,912 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 53 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.1117 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) จีน
รัฐบาลจีนโดยกระทรวงการคลัง (The Ministry of Finance) กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท (The Ministry of Agriculture and Rural Affairs) และหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของรัฐ (The State Administration of Financial Supervision) ได้ประกาศนโยบายกรมธรรม์ประกันภัยค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน กรมธรรม์ประกันรายได้จากการปลูกข้าว และกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับข้าวโพดและข้าวสาลี โดยรัฐบาลจะใช้นโยบายดังกล่าวทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองการประกันทางการเกษตร รักษารายได้ของเกษตรกร อํานวยความสะดวกในการพัฒนาพื้นที่ชนบท และปรับปรุงความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งประกาศฯ จะมีการลงวันที่ย้อนหลัง โดยบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เพื่อคุ้มครองเกษตรกรและองค์กรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ทางการเกษตร
กระทรวงการจัดการเหตุฉุกเฉิน (The Emergency Management Ministry) รายงานว่า ในเดือนเมษายน 2567 เนื้อที่เก็บเกี่ยวพืชผลของจีนได้รับความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง พายุทราย แผ่นดินไหว ไฟป่า และอุณหภูมิที่จุดเยือกแข็ง ประมาณ 2.37 ล้านไร่ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 14,810 ล้านหยวน (72,929 ล้านบาท) ในการนี้ การประกันภัยค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนจะครอบคลุมการสูญเสียรายได้จากภัยธรรมชาติที่สำคัญ ศัตรูพืชและโรค รวมทั้งอุบัติเหตุจากสัตว์ป่าที่ทำให้เกิดความเสียหาย และความเสี่ยงอื่นๆ ส่วนการประกันรายได้จากการปลูกพืชจะครอบคลุมการสูญเสียที่เกิดจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรและผลผลิต
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 หยวน เท่ากับ 4.9243 บาท
2) บราซิล
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า บราซิลเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักในรัฐ Rio Grande do Sul ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 70 ของการผลิตข้าวทั้งประเทศ คาดว่ามีผลผลิตประมาณ 7.5 ล้านตัน จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่จมอยู่ใต้น้ำ ผลผลิตสูญหายในบางพื้นที่ และอาจสูญเสียผลผลิตประมาณ 1 ล้านตัน ในการนี้ รัฐบาลกลางของบราซิลจึงได้ลงนามในมาตรการชั่วคราวในการอนุญาตให้บริษัทจัดหาธัญพืชแห่งชาติบราซิล (The National Supply Company หรือ Conab) นําเข้าข้าวประมาณ 1 ล้านตัน เพื่อเติมเต็มสต็อกข้าวในประเทศ หลีกเลี่ยงการเก็งกําไร และรักษาระดับราคาข้าวในตลาดภายในประเทศ โดย Conab จะจัดการประกวดราคาสาธารณะ ซึ่งข้าวที่ได้มาจะถูกส่งไปยังผู้ค้าปลีกรายย่อยในเขตปริมณฑล แต่จะไม่นําเข้าข้าวทั้งหมดในคราวเดียวเพื่อไม่ให้กระทบกับผลผลิตของเกษตรกรในท้องถิ่น นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้วางแผนนำเข้าข้าวบรรจุถุง โดยเริ่มต้นจะนำเข้าจำนวน 200,000 ตัน จากประเทศผู้ผลิตในกลุ่ม Mercosur เช่น อาร์เจนตินา ปารากวัย อุรุกวัย และโบลิเวีย
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล รายงานว่า ภาคเอกชนของบราซิลอยู่ระหว่างการเจรจานําเข้าข้าว 75,000 ตัน จากประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับสองของโลกรองจากอินเดีย เพื่อชดเชยการสูญเสียการเก็บเกี่ยวที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วมในรัฐ Rio Grande do Sul ทั้งนี้ การนำเข้าข้าวเป็นหนึ่งในหลายมาตรการของรัฐบาลที่ดำเนินการเพื่อแก้ไขและป้องกันการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวที่อาจเกิดขึ้น จากอุปทานที่ลดลงและการเพาะปลูกล่าช้า
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.41 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.26 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5%
สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.79
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 307.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,077.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 295.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,680.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.07 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 397.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 462.00 เซนต์ (6,641.00 บาท/ตัน) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนที่บุชเชลละ 462.00 เซนต์ (6,675.00 บาท/ตัน)
แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 34.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.877 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.21 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.032 ล้านตัน (ร้อยละ 3.84 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.712 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง และหัวมันสำปะหลังมีคุณภาพต่ำ ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังลดต่ำลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.42 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.52 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.97
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.53 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.12
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.52 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.54 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.27
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.70 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 18.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.32
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,340 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,430 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 547.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,860 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 551.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,210 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.73
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.695 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.305 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.780 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.320 ล้านตันของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 4.77 และร้อยละ 4.69 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 3.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.20 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.62
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.75 บาท ลดลงจาก กก.ละ 33.20 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.36
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มล่วงหน้าเดือนมิถุนายน ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ตันละ 2,425 ริงกิต ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มมีการเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันพืชคู่แข่ง
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,879.80 ริงกิตมาเลเซีย (30.43 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,867.04 ริงกิตมาเลเซีย (30.39 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.33
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 999.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.51 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 972.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.76
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- สหกรณ์ชาวไร่อ้อยแห่งรัฐเซาเปาโล (Cocaplana) เตือนว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2567 ประเทศบราซิลเผชิญกับคลื่นความร้อนทั้งหมด 4 ครั้ง และอุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจสร้างความเสียหายให้กับอ้อยอายุ 18 เดือน รวมถึงอ้อยตอที่กำลังเก็บเกี่ยว ด้านนักวิเคราะห์ชี้ว่า ประมาณการผลผลิตน้ำตาลในภาค กลาง – ใต้ของบราซิล ปี 2567/2568 ยังคงมีตัวเลขประมาณการที่แตกต่างกันอย่างมาก โดยอยู่ในช่วง 41.50 - 43.70 ล้านตัน
- ข่าวด้านอุตุนิยมวิทยาของประเทศจีน รายงานว่า การเพาะปลูกอ้อยในเขตกวางซี (Guangxi) ชะลอตัวลงเนื่องจากสภาพอากาศที่ขาดฝน และอุณหภูมิที่ต่ำ อย่างไรก็ตาม อ้อยยังคงเติบโตได้ดี และคาดการณ์ว่าสภาพอากาศในเดือนถัดไปจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของอ้อย
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 18.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.57 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 16.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,243.52 เซนต์ (16.70 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,212.40 เซนต์ (16.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.57
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 377.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.80 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 366.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.97
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.63 เซนต์ (36.75 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 44.16 เซนต์ (35.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.33
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 18.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.57 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 16.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,243.52 เซนต์ (16.70 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,212.40 เซนต์ (16.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.57
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 377.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.80 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 366.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.97
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.63 เซนต์ (36.75 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 44.16 เซนต์ (35.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.33
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 970.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 965.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 830.75 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 826.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,416.25 ดอลลาร์สหรัฐ (51.14 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,409.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 998.50 ดอลลาร์สหรัฐ (36.0.6 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 993.40 ดอลลาร์สหรัฐ (36.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 853.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ ละ 849.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.54 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.44 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.92 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,984 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,493 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 971 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.73 คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.60 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.14 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่ากว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 365 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 362 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 375 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 412 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 413 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 412 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 435 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 432 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 490 บาท480 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.08
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 84.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.61 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.62 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 61.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.31 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.51 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.73 คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.60 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.14 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่ากว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 365 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 362 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 375 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 412 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 413 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 412 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 435 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 432 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 490 บาท480 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.08
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 84.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.61 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.62 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 61.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.31 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.51 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 – 26 พฤษภาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.31 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.89 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 86.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.39 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.08 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.34 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.04 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 – 26 พฤษภาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.31 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.89 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 86.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.39 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.08 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.34 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.04 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา