- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 27 พฤษภาคม-2 มิถุนายน 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.310 ล้านไร่ ผลผลิต 26.308 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 422 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62 ร้อยละ 2.89 และ ร้อยละ 2.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี และในปี 2567
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่าสภาพภูมิอากาศเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 จะอยู่ในสภาวะเอลนีโญ แต่มีแนวโน้มสูงที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2567 และมีแนวโน้มจะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเพาะปลูกและระยะเจริญเติบโต เกษตรกรจึงขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ปล่อยว่างเมื่อปี 2566 สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คาดการณ์ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ 16.884 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 64.18 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.47 ร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมิถุนายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.302 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 4.84 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2567 อีก 0.222 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 3.56 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,706 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,553 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,998 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,880 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,675 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,825 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ในเดือนเมษายน 2567 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้ 933,498 ตัน มูลค่า 608 ล้านดอลลาร์ (22,156.07 ล้านบาท) ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 64.2 และร้อยละ 91.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 เนื่องจากตลาดอิรัก อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐฯ และจีน มีความต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มมากขึ้น เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ประกอบกับประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ เช่น บราซิล และเม็กซิโก กำลังประสบปัญหาน้ำท่วม ส่งผลให้อุปทานข้าวในตลาดขณะนี้มีปริมาณน้อย สำหรับการส่งออกในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2567 มีปริมาณ 3,398,144 ตัน มูลค่า 2,219 ล้านดอลลาร์ (80,862.36 ล้านบาท) ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 29.1 และร้อยละ 53.8 ตามลำดับ
นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สมาคมฯ วางแผนปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกข้าวปี 2567 จากเดิมกำหนดไว้ที่ 7.5 ล้านตัน เป็น 8 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณการส่งออกสะสม 4 เดือน (มกราคม – เมษายน) มากกว่า 3 ล้านตัน ซึ่งยังเหลืออีก 8 เดือน (พฤษภาคม - ธันวาคม) คาดว่าในปี 2567 การส่งออกข้าวจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่มีความผันผวนของราคาสูงจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะปัจจัยด้านประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่อย่างอินเดียที่ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้มาตรการห้ามส่งออกข้าว ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกผันผวน ไม่มีเสถียรภาพ และปัจจัยด้านสภาพอากาศ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่า สภาพภูมิอากาศเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 จะอยู่ในสภาวะเอลนีโญ แต่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2567 และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2567 ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2567 จะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น จากปี 2566 เพียงพอต่อการเพาะปลูกและระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าว ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศอาจเพิ่มขึ้น
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.4409 บาท
2) ฟิลิปปินส์
กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) คาดการณ์ว่าในปี 2568 ฟิลิปปินส์จะยังคงเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกเป็นปีที่สามติดต่อกัน เนื่องจากการเติบโตของจำนวนประชากรและการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องพึ่งพาอุปทานข้าวจากต่างประเทศ โดยในปี 2568 คาดว่าจะมีการนำเข้าข้าวปริมาณ 4.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากการประมาณการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ในปี 2567 ที่ 4.1 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.44 ทั้งนี้ การนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์คิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของอุปทานทั้งหมดต่อปี (ไม่รวมสต็อกเริ่มต้น) และนับตั้งแต่ฟิลิปปินส์เปิดเสรีการนำเข้าและยกเลิกการควบคุมระบอบการค้าข้าวในปี 2562 พบว่า การนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ สำนักอุตสาหกรรมพืช กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ รายงานเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 2 พฤษภาคม 2567 ฟิลิปปินส์มีการนำเข้าข้าวประมาณ 1.6 ล้านตัน สำหรับด้านการบริโภคและความต้องการข้าว ในปี 2568 คาดว่ามีประมาณ 17.10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากการประมาณการการบริโภคข้าวในปี 2567 ที่ 16.60 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.01 ส่งผลให้ฟิลิปปินส์จะยังคงเป็นผู้บริโภคข้าวอันดับ 6 ของโลก และคาดการณ์ว่าการบริโภคข้าวโลกจะมีปริมาณ 526.40 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ใหม่ เนื่องจากการเติบโตของจำนวนประชากรในอินเดีย บังคลาเทศ และฟิลิปปินส์ ส่วนด้านการผลิต ในปี 2568 คาดว่ามีผลผลิตประมาณ 12.70 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากการประมาณการการผลิตในปี 2567 ที่ 12.50 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60 และส่งผลให้ฟิลิปปินส์เป็นผู้ผลิตข้าวอันดับ 7 ของโลก
สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (PSA) คาดการณ์ว่า ในปี 2568 ฟิลิปปินส์จะมีประชากรจำนวน 113.63 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการในปี 2563 ที่ 109.04 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.21 และในช่วงปี 2563 - 2568 คาดว่าอัตราการเติบโตของประชากรเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ร้อยละ 0.84
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.310 ล้านไร่ ผลผลิต 26.308 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 422 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62 ร้อยละ 2.89 และ ร้อยละ 2.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี และในปี 2567
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่าสภาพภูมิอากาศเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 จะอยู่ในสภาวะเอลนีโญ แต่มีแนวโน้มสูงที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2567 และมีแนวโน้มจะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเพาะปลูกและระยะเจริญเติบโต เกษตรกรจึงขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ปล่อยว่างเมื่อปี 2566 สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คาดการณ์ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ 16.884 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 64.18 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.47 ร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมิถุนายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.302 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 4.84 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2567 อีก 0.222 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 3.56 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,706 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,553 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,998 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,880 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,675 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,825 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ในเดือนเมษายน 2567 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้ 933,498 ตัน มูลค่า 608 ล้านดอลลาร์ (22,156.07 ล้านบาท) ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 64.2 และร้อยละ 91.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 เนื่องจากตลาดอิรัก อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐฯ และจีน มีความต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มมากขึ้น เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ประกอบกับประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ เช่น บราซิล และเม็กซิโก กำลังประสบปัญหาน้ำท่วม ส่งผลให้อุปทานข้าวในตลาดขณะนี้มีปริมาณน้อย สำหรับการส่งออกในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2567 มีปริมาณ 3,398,144 ตัน มูลค่า 2,219 ล้านดอลลาร์ (80,862.36 ล้านบาท) ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 29.1 และร้อยละ 53.8 ตามลำดับ
นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สมาคมฯ วางแผนปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกข้าวปี 2567 จากเดิมกำหนดไว้ที่ 7.5 ล้านตัน เป็น 8 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณการส่งออกสะสม 4 เดือน (มกราคม – เมษายน) มากกว่า 3 ล้านตัน ซึ่งยังเหลืออีก 8 เดือน (พฤษภาคม - ธันวาคม) คาดว่าในปี 2567 การส่งออกข้าวจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่มีความผันผวนของราคาสูงจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะปัจจัยด้านประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่อย่างอินเดียที่ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้มาตรการห้ามส่งออกข้าว ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกผันผวน ไม่มีเสถียรภาพ และปัจจัยด้านสภาพอากาศ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่า สภาพภูมิอากาศเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 จะอยู่ในสภาวะเอลนีโญ แต่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2567 และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2567 ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2567 จะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น จากปี 2566 เพียงพอต่อการเพาะปลูกและระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าว ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศอาจเพิ่มขึ้น
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.4409 บาท
2) ฟิลิปปินส์
กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) คาดการณ์ว่าในปี 2568 ฟิลิปปินส์จะยังคงเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกเป็นปีที่สามติดต่อกัน เนื่องจากการเติบโตของจำนวนประชากรและการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องพึ่งพาอุปทานข้าวจากต่างประเทศ โดยในปี 2568 คาดว่าจะมีการนำเข้าข้าวปริมาณ 4.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากการประมาณการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ในปี 2567 ที่ 4.1 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.44 ทั้งนี้ การนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์คิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของอุปทานทั้งหมดต่อปี (ไม่รวมสต็อกเริ่มต้น) และนับตั้งแต่ฟิลิปปินส์เปิดเสรีการนำเข้าและยกเลิกการควบคุมระบอบการค้าข้าวในปี 2562 พบว่า การนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ สำนักอุตสาหกรรมพืช กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ รายงานเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 2 พฤษภาคม 2567 ฟิลิปปินส์มีการนำเข้าข้าวประมาณ 1.6 ล้านตัน สำหรับด้านการบริโภคและความต้องการข้าว ในปี 2568 คาดว่ามีประมาณ 17.10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากการประมาณการการบริโภคข้าวในปี 2567 ที่ 16.60 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.01 ส่งผลให้ฟิลิปปินส์จะยังคงเป็นผู้บริโภคข้าวอันดับ 6 ของโลก และคาดการณ์ว่าการบริโภคข้าวโลกจะมีปริมาณ 526.40 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ใหม่ เนื่องจากการเติบโตของจำนวนประชากรในอินเดีย บังคลาเทศ และฟิลิปปินส์ ส่วนด้านการผลิต ในปี 2568 คาดว่ามีผลผลิตประมาณ 12.70 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากการประมาณการการผลิตในปี 2567 ที่ 12.50 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60 และส่งผลให้ฟิลิปปินส์เป็นผู้ผลิตข้าวอันดับ 7 ของโลก
สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (PSA) คาดการณ์ว่า ในปี 2568 ฟิลิปปินส์จะมีประชากรจำนวน 113.63 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการในปี 2563 ที่ 109.04 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.21 และในช่วงปี 2563 - 2568 คาดว่าอัตราการเติบโตของประชากรเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ร้อยละ 0.84
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.98 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5%
สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.84 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.46
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 309.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,275.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 307.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,077.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 198.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 453.00 เซนต์ (6,575.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 462.00 เซนต์ (6,641.00 บาท/ตัน)
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 66.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.877 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.21 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ
โดยเดือนพฤษภาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.032 ล้านตัน (ร้อยละ 3.84 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.712 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง และหัวมันสำปะหลังมีคุณภาพต่ำ ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังลดต่ำลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.30 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.42 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.96
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.51 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.53 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.31
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.38 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.52 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.86
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.70 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,440 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,430 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 547.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,090 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนตันละ 547.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,860 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.695 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.305 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.780 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.320 ล้านตันของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 4.77 และร้อยละ 4.69 ตามลำดับ
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.320 ล้านตันของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 4.77 และร้อยละ 4.69 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 3.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.65 บาท ลดลงจาก กก.ละ 32.75 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินเดียลดภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ เดิม ร้อยละ 27.5 เป็น ร้อยละ 15 แต่มีการเพิ่มภาษีนำเข้า (Cess) ร้อยละ 17.5 แยกต่างหาก เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,960.05 ริงกิตมาเลเซีย (31.32 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,879.80 ริงกิตมาเลเซีย (30.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.07
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,037.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 999.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.81
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- UNICA รายงานว่า ในช่วงแรกของเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ภาคกลาง - ใต้ ของบราซิลมีการหีบอ้อยไปแล้ว คิดเป็นจำนวน 44.75 ล้านเมตริกตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.43 เช่นเดียวกันกับผลผลิตน้ำตาลทรายซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ สำหรับฤดูการผลิตปี 2567/68 ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา มีผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 25.75 (ที่มา: Chinimandi)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 18.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,214.50 เซนต์ (16.45 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,243.52 เซนต์ (16.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.33
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 368.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.58 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 377.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.40
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.66 เซนต์ (36.09 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 45.63 เซนต์ (36.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.07
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 18.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,214.50 เซนต์ (16.45 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,243.52 เซนต์ (16.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.33
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 368.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.58 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 377.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.40
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.66 เซนต์ (36.09 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 45.63 เซนต์ (36.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.07
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 961.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 970.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 823.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 830.75 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 และคงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,403.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.14 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,416.25 ดอลลาร์สหรัฐ (51.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 และคงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 989.20 ดอลลาร์สหรัฐ (36.05 บาท/กก.) ลดลงขึ้นจากตันละ 998.50 ดอลลาร์สหรัฐ (36.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 853.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92 และคงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.54 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.94 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.44 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.71
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,978 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,984 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,493 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 971 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
ไข่เป็ด
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.08 คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.89 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.50 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.49 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.65 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.50 คิดเป็นร้อยละ 2.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 364 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 365 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 351 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 373 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 424 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 412 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.91
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 411 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 413 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 431 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 379 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 434 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 490 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 85.06 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 61.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.03 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 85.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.18 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 123.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.04 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 85.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.18 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 123.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.04 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา