สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 มิถุนายน 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.310 ล้านไร่ ผลผลิต 26.308 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 422 กิโลกรัม  เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62 ร้อยละ 2.89 และ ร้อยละ 2.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี และในปี 2567
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่าสภาพภูมิอากาศเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 จะอยู่ในสภาวะเอลนีโญ แต่มีแนวโน้มสูงที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2567 และมีแนวโน้มจะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเพาะปลูกและระยะเจริญเติบโต เกษตรกรจึงขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ปล่อยว่างเมื่อปี 2566  สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คาดการณ์ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ 16.884 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 64.18 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.47 ร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมิถุนายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.302 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 4.84 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2567 อีก 0.222 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 3.56 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน    4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย    4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 – 31 มีนาคท 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,845 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,706 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,971 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,998 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน    
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 21,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 910 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 33,001 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 647 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 23,463 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 631 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 22,883 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.2648 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า คณะกรรมการระหว่างหน่วยงานของฟิลิปปินส์ซึ่งนําโดยประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ได้อนุมัติให้ปรับลดอัตราภาษีนําเข้าข้าว และขยายเวลาการลดภาษีสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เพื่อบรรเทาปัญหาภาวะเงินเฟ้อและรับประกันว่าจะมีอุปทานที่เพียงพอ โดยจะปรับลดอัตราภาษีนําเข้าข้าวจากร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 15 ทั้งในโควตาและนอกโควตาไปจนถึงปี 2571 ซึ่งการปรับลดภาษีในครั้งนี้คาดว่าจะช่วยลดความกดดันที่มีต่อราคาข้าวในประเทศได้อย่างมาก ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งชาติ (National Economic and Development Authority) กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลพยายามจะลดราคาข้าวเพื่อประชาชนชาวฟิลิปปินส์ด้วยการปรับลดภาษีนำเข้าข้าวให้เหลือกิโลกรัมละ 29 เปโซ (ประมาณกิโลกรัมละ 17.14 บาท) ภายในปี 2567 ในขณะที่ นายมิเกล ชานโก หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทที่ปรึกษาด้านการวิจัยทางเศรษฐกิจในอังกฤษ กล่าวว่า การปรับลดภาษีดังกล่าวจะทำให้ข้าวที่นำเข้ามีราคาถูกกว่าข้าวที่ผลิตข้าวในประเทศ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรในประเทศที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นจากการนำเข้าข้าวราคาถูก และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในเอเชีย เช่น เวียดนาม และไทย
 ทั้งนี้ สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า ราคาข้าวคิดเป็นร้อยละ 9 ของดัชนีราคาผู้บริโภคฟิลิปปินส์ ซึ่งครองสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และในเดือนเมษายน 2567 อัตราเงินเฟ้อรายปีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สามติดต่อกันอยู่ที่ร้อยละ 3.8 โดยมีสาเหตุมาจากราคาขนส่งและอาหารที่เพิ่มขึ้น
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5911 บาท
2) บราซิล
สำนักข่าว S&P Global Commodity Insights รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2567 รัฐบาลบราซิลได้จัดการประกวดราคานำเข้าข้าวขาว จำนวน 300,000 ตัน จากแหล่งผลิตทั่วโลก เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อด้านอาหาร และปรับสมดุลราคาข้าวในประเทศหลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งรุนแรงในรัฐ Rio Grande do Sul โดยบราซิลจะนำเข้าข้าวบรรจุถุงขนาด 5 กิโลกรัม ที่พร้อมสำหรับการเก็บรักษา และต้องมีตราประทับของรัฐบาลพิมพ์อยู่บนถุงบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ ได้กำหนดราคานำเข้าที่กิโลกรัมละ 0.77 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณกิโลกรัมละ 27.92 บาท) สำหรับภาคเอกชนของบราซิลได้เริ่มนําเข้าข้าวขาวจากไทยแล้วประมาณ 120,000 ตัน เพื่อคลายความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนข้าวภายในประเทศ
สำนักข่าว Reuters รายงานเพิ่มเติมว่า รัฐบาลบราซิลได้ประมาณการงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายในการนําเข้าข้าวและมาตรการอุดหนุนการบริโภคภายในประเทศเบื้องต้น ประมาณ 443 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 16,065 ล้านบาท) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากเกษตรกรในท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมข้าว โดยทางด้านเกษตรกรให้ความเห็นว่า หากมีการสนับสนุนการนําเข้าข้าวที่มีราคาถูกกว่าราคาข้าวที่ผลิตในประเทศ อาจทำให้เกษตรกรต้องเผชิญกับการสูญเสียรายได้และอาจลดพื้นที่ปลูกข้าวในฤดูกาลถัดไป รวมทั้งกลุ่มโรงสีข้าวในประเทศอาจได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.2648 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.77 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  11.69 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.66 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 325.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,786.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 309.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,275.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.18 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 511.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 445.00 เซนต์ (6,428.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 453.00 เซนต์ (6,575.00 บาท/ตัน) สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 147.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.877 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.21 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ
โดยเดือนมิถุนายน 2567   คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.63 ล้านตัน (ร้อยละ 2.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.712 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง และหัวมันสำปะหลังมีคุณภาพต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.07 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 10.00
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.30 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.51 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.23
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.39 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.38 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.14
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.70 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,420 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,440 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 547.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,040 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนตันละ 547.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,090 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.649 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.297 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.695 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.305 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 2.71 และร้อยละ 2.62 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 4.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.62 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 12.98
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.88 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 32.65 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.70
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยตามราคาน้ำมันถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก นอกจากนี้ ปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ของมาเลเซีย คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.39 เป็น 1.74 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,910.14 ริงกิตมาเลเซีย (30.83 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,960.05 ริงกิตมาเลเซีย (31.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.26  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,041.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.19 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,037.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.34
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
           - สมาพันธ์สหกรณ์โรงงานน้ำตาลแห่งชาติ (NFCSF) ของประเทศอินเดีย รายงานว่า ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 การหีบอ้อยในปี 2566/67 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบประมาณ 313.78 ล้านเมตริกตัน ผลผลิตน้ำตาลที่ 31.67 ล้านเมตรติกตัน มีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 534 แห่ง เปิดดำเนินการในฤดูกาลนี้ ซึ่ง 531 แห่ง สิ้นสุดการหีบอ้อยแล้ว เหลือโรงงานน้ำตาลเพียง 3 แห่งที่ยังดำเนินการอยู่ แม้ว่าปริมาณอ้อยที่เข้าหีบในปี 2566/67 จะลดลงจากฤดูการก่อนหน้าเล็กน้อย แต่ปริมาณผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.09 จากร้อยละ 9.83 ในปีก่อนหน้า โดยรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) เป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ รองลงมาคือรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) และรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) ตามลำดับ (ที่มา: Chinimandi)
           - The Sugar Regulatory Administration (SRA) ของฟิลิปปินส์ รายงานว่า พื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 23,000 เฮกตาร์ได้รับผลกระทบจากการปะทุของภูเขาไฟคันลาออน (Kanlaon) ในเกาะเนกรอส (Negros) โดย SRA ได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและเก็บตัวอย่างดินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินผลกระทบของเถ้าถ่าน ซึ่งส่งผลต่อระดับความเป็นกรดของอ้อยและดินให้เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่สามารถช่วยบรรเทาสถานการณ์ผลกระทบของเถ้าถ่านได้ (ที่มา: Chinimandi)
           - ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของออสเตรเลีย กล่าวว่า กรณีข้อพิพาทของผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ในออสเตรเลีย อาจส่งผลกระทบต่อการเก็บเกี่ยวอ้อย ตลอดจนการผลิตและการส่งออกน้ำตาลของออสเตรเลีย หากไม่ได้รับการแก้ไขให้ทันท่วงที โดยการหยุดงานประท้วงของ 8 โรงงานน้ำตาลซึ่งอยู่ภายใต้บริษัท Singapore's Wilmar International (WLIL.SI) ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ ทำให้การเริ่มดำเนินการหีบอ้อยล่าช้าออกไป เช่นเดียวกับโรงงานน้ำตาลของ COFCO กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของจีน ที่เปิดเผยว่า ได้ชะลอการเริ่มต้นดำเนินการเช่นกัน เนื่องจากการหยุดงานประท้วงและสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทั้งนี้ ออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ส่งออกน้ำตาลประมาณ 3.5 ล้านตันต่อปีไปยังตลาดส่วนใหญ่ในเอเชีย อาจส่งผลให้อุปทานน้ำตาลในเอเชียตึงตัวขึ้น แต่คาดว่าจะไม่กระทบต่อราคาน้ำตาลในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม การล่าช้าดังกล่าว สร้างความกังวลให้กับเกษตรกรที่เตรียมส่งมอบอ้อย แต่คาดว่าจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำตาลในช่วงฤดูหีบอ้อยที่จะเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายนนี้ (ที่มา: Reuters)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 18.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,183.96 เซนต์ (15.96 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,214.50 เซนต์ (16.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.51
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 359.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 368.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.44
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.77 เซนต์ (35.38 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 45.66 เซนต์ (36.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.14


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.57
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 966.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 961.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 827.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 823.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,410.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.13 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,403.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1076.75 ดอลลาร์สหรัฐ (39.05 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 989.20 ดอลลาร์สหรัฐ (36.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.85 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 3.00 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 849.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.80 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 845.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และลดลงสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.54 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.97 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.94 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.84
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,978 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,493 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 971 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว        
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  69.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.19 คิดเป็นร้อยละ 2.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.77 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 71.97 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 73.29 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,900 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.50 คิดเป็นร้อยละ 2.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.90 คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากสถานศึกษาทยอยเปิดภาคเรียน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 372 บาท  สูงขึ้นจากร้อยฟองละ  364 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 383 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท  สูงขึ้นจากร้อยฟองละ  424 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.89

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 412 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ  411  บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 428 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 428 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 383 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 426 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาทสูงขึ้นจากร้อยฟองละ  490 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.04

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 85.28 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.06 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 61.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.43 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 มิถุนายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.91 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 60.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.42 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 85.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.21 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.01 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 120.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.87 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.04 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา