- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 10-16 มิถุนายน 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ
โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกรมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก
ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ
โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจาก
ปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,948 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,845 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,203 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,971 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.11
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,510 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.00
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 908 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,140 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 910 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,001 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 139 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 645 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,541 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 647 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,463 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 78 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 629 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,957 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 631 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,883 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 74 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.4979 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ส่งออกข้าวไทยอาจลดลงเหลือประมาณเดือนละ 6 แสนตัน จากช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม ปี 2567 ที่ไทยส่งออกได้ถึงเดือนละ 8 - 9 แสนตัน โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการส่งออกข้าวไทย ประการแรก คือ ราคาส่งออกของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวไทยสูงกว่าเวียดนามประมาณตันละ 100 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 3,649.79 บาท) เช่น ราคาส่งออกข้าว 5% ของไทยอยู่ที่ตันละ 630 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 22,993.68 บาท) ขณะที่เวียดนามมีราคาอยู่ที่ตันละ 580 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 21,168.78 บาท) เนื่องจากมีการกักตุนข้าวในประเทศเพื่อเก็งกําไรทำให้ปริมาณการส่งออกน้อยกว่าที่ควร ส่งผลให้ผู้ส่งออกข้าวในตลาดซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้กำหนดราคาขายไว้ที่ตันละ 596 - 600 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 21,752.75 – 21,898.74 บาท) ต้องแบกรับภาระขาดทุน ประการที่สอง คือ ประเทศผู้นําเข้าจะซื้อข้าวในปริมาณที่จำเป็นเท่านั้นไม่มีการสต็อกไว้อย่างเช่นเคย เพราะต้องการดูสถานการณ์ของอินเดียว่าจะยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีหลังหรือไม่ ประกอบกับความกังวลจากปรากฏการณ์เอลนีโญลดลง เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาที่มีฝนตกชุกส่งผลดีต่อการเพาะปลูกข้าว หากอินเดียมีผลผลิตข้าวดีและมีสต็อกสูงถึง 50 ล้านตัน จากปกติมีเพียง 20 ล้านตัน อาจทำให้อินเดียยกเลิกมาตรการฯซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวโลกครั้งใหญ่
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่ไทยยังส่งออกข้าวได้มากเพราะมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าและอยู่ในช่วงส่งมอบซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 2567 หลังจากนั้นจะเปิดการขายใหม่ แต่มีความกังวลว่าไตรมาส 3 ของปี 2567 ยอดคำสั่งซื้ออาจไม่ดีนัก เนื่องจากราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งมาก และหากเป็นเช่นนั้นจะทำให้ไทยส่งออกข้าวต่ำกว่าปี 2566 ที่ 8.7 ล้านตัน เหลือประมาณ 8 ล้านตัน ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเร่งหาตลาดเพื่อส่งออกและควบคุมราคาข้าวในประเทศให้สามารถแข่งขันได้
ที่มา TNN ONLINE
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.4979 บาท
2) เวียดนาม – ฟิลิปปินส์
สำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ รายงานว่า การค้าข้าวระหว่างเวียดนามกับฟิลิปปินส์ยังคงทรงตัว เป็นผลมาจากรัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังดำเนินการปรับโครงสร้างสำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority : NFA) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ NFA มีเครื่องมือในการแทรกแซงตลาดข้าวคุณภาพต่ำที่บริโภคโดยชาวฟิลิปปินส์ผู้มีรายได้น้อยเป็นหลักและสามารถควบคุมราคาข้าวให้คงที่ได้ รวมทั้งพิจารณาการแก้ไขกฎหมายเปิดเสรีการค้าข้าวในฟิลิปปินส์ (Republic Act No. 11203) เนื่องจากภาวะราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นแหล่งนําเข้าข้าวที่สำคัญของฟิลิปปินส์ ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ ซึ่งการดำเนินงานตามมาตรการของรัฐบาลก่อนหน้านี้ไม่สามารถควบคุมราคาข้าวได้ รวมไปถึงการดันเพดานราคาข้าวให้สูงขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 เวียดนามยังคงเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 72 ของการนําเข้าข้าวทั้งหมดของประเทศ เป็นผลมาจากความนิยมบริโภคข้าวเวียดนาม เช่น พันธุ์ DT8 และ OM5451 ที่มีความนุ่มและราคาไม่สูงมาก นอกจากนี้ ข้าวของเวียดนามยังมีความสม่ำเสมอทั้งในด้านปริมาณและราคาซึ่งสอดคล้องกับความต้องการนําเข้าของฟิลิปปินส์ รวมทั้งยังมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ส่งผลต่อต้นทุนในการขนส่ง และความได้เปรียบทางการค้าจากข้อตกลงทวิภาคีและพหุภาคี เช่น ข้อตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป็นต้น
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ
โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกรมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก
ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ
โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจาก
ปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,948 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,845 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,203 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,971 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.11
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,510 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.00
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 908 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,140 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 910 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,001 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 139 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 645 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,541 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 647 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,463 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 78 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 629 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,957 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 631 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,883 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 74 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.4979 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ส่งออกข้าวไทยอาจลดลงเหลือประมาณเดือนละ 6 แสนตัน จากช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม ปี 2567 ที่ไทยส่งออกได้ถึงเดือนละ 8 - 9 แสนตัน โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการส่งออกข้าวไทย ประการแรก คือ ราคาส่งออกของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวไทยสูงกว่าเวียดนามประมาณตันละ 100 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 3,649.79 บาท) เช่น ราคาส่งออกข้าว 5% ของไทยอยู่ที่ตันละ 630 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 22,993.68 บาท) ขณะที่เวียดนามมีราคาอยู่ที่ตันละ 580 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 21,168.78 บาท) เนื่องจากมีการกักตุนข้าวในประเทศเพื่อเก็งกําไรทำให้ปริมาณการส่งออกน้อยกว่าที่ควร ส่งผลให้ผู้ส่งออกข้าวในตลาดซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้กำหนดราคาขายไว้ที่ตันละ 596 - 600 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 21,752.75 – 21,898.74 บาท) ต้องแบกรับภาระขาดทุน ประการที่สอง คือ ประเทศผู้นําเข้าจะซื้อข้าวในปริมาณที่จำเป็นเท่านั้นไม่มีการสต็อกไว้อย่างเช่นเคย เพราะต้องการดูสถานการณ์ของอินเดียว่าจะยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีหลังหรือไม่ ประกอบกับความกังวลจากปรากฏการณ์เอลนีโญลดลง เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาที่มีฝนตกชุกส่งผลดีต่อการเพาะปลูกข้าว หากอินเดียมีผลผลิตข้าวดีและมีสต็อกสูงถึง 50 ล้านตัน จากปกติมีเพียง 20 ล้านตัน อาจทำให้อินเดียยกเลิกมาตรการฯซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวโลกครั้งใหญ่
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่ไทยยังส่งออกข้าวได้มากเพราะมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าและอยู่ในช่วงส่งมอบซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 2567 หลังจากนั้นจะเปิดการขายใหม่ แต่มีความกังวลว่าไตรมาส 3 ของปี 2567 ยอดคำสั่งซื้ออาจไม่ดีนัก เนื่องจากราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งมาก และหากเป็นเช่นนั้นจะทำให้ไทยส่งออกข้าวต่ำกว่าปี 2566 ที่ 8.7 ล้านตัน เหลือประมาณ 8 ล้านตัน ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเร่งหาตลาดเพื่อส่งออกและควบคุมราคาข้าวในประเทศให้สามารถแข่งขันได้
ที่มา TNN ONLINE
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.4979 บาท
2) เวียดนาม – ฟิลิปปินส์
สำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ รายงานว่า การค้าข้าวระหว่างเวียดนามกับฟิลิปปินส์ยังคงทรงตัว เป็นผลมาจากรัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังดำเนินการปรับโครงสร้างสำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority : NFA) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ NFA มีเครื่องมือในการแทรกแซงตลาดข้าวคุณภาพต่ำที่บริโภคโดยชาวฟิลิปปินส์ผู้มีรายได้น้อยเป็นหลักและสามารถควบคุมราคาข้าวให้คงที่ได้ รวมทั้งพิจารณาการแก้ไขกฎหมายเปิดเสรีการค้าข้าวในฟิลิปปินส์ (Republic Act No. 11203) เนื่องจากภาวะราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นแหล่งนําเข้าข้าวที่สำคัญของฟิลิปปินส์ ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ ซึ่งการดำเนินงานตามมาตรการของรัฐบาลก่อนหน้านี้ไม่สามารถควบคุมราคาข้าวได้ รวมไปถึงการดันเพดานราคาข้าวให้สูงขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 เวียดนามยังคงเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 72 ของการนําเข้าข้าวทั้งหมดของประเทศ เป็นผลมาจากความนิยมบริโภคข้าวเวียดนาม เช่น พันธุ์ DT8 และ OM5451 ที่มีความนุ่มและราคาไม่สูงมาก นอกจากนี้ ข้าวของเวียดนามยังมีความสม่ำเสมอทั้งในด้านปริมาณและราคาซึ่งสอดคล้องกับความต้องการนําเข้าของฟิลิปปินส์ รวมทั้งยังมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ส่งผลต่อต้นทุนในการขนส่ง และความได้เปรียบทางการค้าจากข้อตกลงทวิภาคีและพหุภาคี เช่น ข้อตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป็นต้น
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.18 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.96 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.02
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.11 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 337.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,314.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 325.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,786.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 528.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 453.00 เซนต์ (6,580.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 445.00 เซนต์ (6,428.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 152.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.877 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน
และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.21 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.63 ล้านตัน (ร้อยละ 2.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.712 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย และมีเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.05 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.07 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.97
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.57 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.29
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.58 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.39 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.57
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.70 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,440 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,420 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 547.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,080 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนตันละ 547.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,040 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.649 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.297 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.695 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.305 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 2.71 และร้อยละ 2.62 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 4.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.62 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 12.98
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.88 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 32.65 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.70
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยตามราคาน้ำมันถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก นอกจากนี้ ปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ของมาเลเซีย คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.39 เป็น 1.74 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,910.14 ริงกิตมาเลเซีย (30.83 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,960.05 ริงกิตมาเลเซีย (31.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.26
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,041.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.19 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,037.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.34
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบยกเลิกมาตรการกำหนดราคาน้ำตาลทราย ณ หน้าโรงงาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เสนอ เนื่องจากสถานการณ์เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังคงกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมตามเดิม ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นจะกำหนดมาตรการเข้าไปกำกับดูแลได้ โดยหลังจากนี้
จะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ลงลดจากกิโลกรัมละ 18.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.56
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,182.48 เซนต์ (16.04 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,183.96 เซนต์ (15.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 364.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.47 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 359.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.48
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.73 เซนต์ (35.58 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 43.77 เซนต์ (35.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.09
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ลงลดจากกิโลกรัมละ 18.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.56
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,182.48 เซนต์ (16.04 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,183.96 เซนต์ (15.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 364.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.47 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 359.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.48
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.73 เซนต์ (35.58 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 43.77 เซนต์ (35.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.09
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.52 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 966.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.49 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 821.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.42 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 827.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.43 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,400.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.85 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,410.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.72 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1069.80 ดอลลาร์สหรัฐ (39.60 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1076.75 ดอลลาร์สหรัฐ (39.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.55 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 843.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.24 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 849.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 และเพิ่มขึ้นสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.44 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.54 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.61
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.93 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.97 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22.83
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,164 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,978 บาทคิดเป็นร้อยละ 9.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,616 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,493 บาทคิดเป็นร้อยละ 8.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 971 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.68 คิดเป็นร้อยละ 1.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.24 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.31 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.18 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ลดลงจากตัวละ 1,900 คิดเป็นร้อยละ 5.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.00 คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากสถานศึกษาทยอยเปิดภาคเรียน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 373 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 372 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 414 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 412 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 430 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 426 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 84.83 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 85.28 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 61.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.24 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.50 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.68 คิดเป็นร้อยละ 1.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.24 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.31 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.18 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ลดลงจากตัวละ 1,900 คิดเป็นร้อยละ 5.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.00 คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากสถานศึกษาทยอยเปิดภาคเรียน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 373 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 372 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 414 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 412 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 430 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 426 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 84.83 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 85.28 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 61.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.24 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.50 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 10 – 16 มิถุนายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.32 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.41 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 85.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.01 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.41 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 10 – 16 มิถุนายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.32 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.41 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 85.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.01 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.41 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา