สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 มกราคม 2568

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,778 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,639 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,339 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 35,150 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,430 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.26 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 918 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,530 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 927 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,581 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,967 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 851 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 497 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,070 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 748 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย 
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินแนวโน้มการส่งออกข้าว ในปี 2568 ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตข้าวจากหลายประเทศออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอินเดียที่เพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีปริมาณผลผลิตมากกว่าปกติถึง 4 – 5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งถือเป็นปริมาณสูงที่สุด
ในรอบหลายสิบปี สำหรับเวียดนามจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลกและมีการนำเข้าประมาณ 4 – 5 ล้านตัน ในปี 2567 ได้ประกาศว่าจะไม่นำเข้าข้าว
ในปี 2568 เนื่องจากมีนโยบายที่จะพึ่งพาตนเองในการผลผลิตข้าวภายในประเทศ ส่วนฟิลิปปินส์ยังคงนำเข้าข้าวปกติ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวในตลาดโลกขณะที่ความต้องการซื้อข้าวลดลง จะส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกและราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวลดลง หากไทยต้องการรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกจำเป็นต้องปรับราคาข้าวให้ใกล้เคียงกับราคาข้าวของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียขายข้าวขาวและข้าวนึ่งในราคาที่
ต่ำกว่าไทยประมาณตันละ 50 – 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 1,717.34 – 2,060.81 บาท) นอกจากนี้ ความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในปี 2568 ราคาข้าวเปลือกในประเทศมีโอกาสทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูง เช่น ข้าวสาลีมีปริมาณลดลง ทำให้
มีการหันมาใช้ปลายข้าวแทน รวมถึงราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีราคากิโลกรัมละ 11 บาท ขณะเดียวกัน
การบริโภคข้าวในประเทศคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะจากการบริโภคข้าวของแรงงานต่างด้าวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริโภคข้าวประมาณ 100 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งมากกว่าคนไทยที่บริโภคข้าวเฉลี่ย 72 กิโลกรัม/คน/ปี รวมถึงการบริโภคข้าวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรไทยยังมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าว โดยหันไปปลูกข้าวพื้นนุ่มที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่าอินเดียจะกลับมาส่งออกข้าวขาวแล้วก็ตาม
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2) เวียดนาม   
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทรายงานการส่งออกข้าวเวียดนามว่า ในปี 2567 มีปริมาณ
9 ล้านตัน มูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 195.78 พันล้านบาท) เป็นการสร้างสถิติใหม่ และ
เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ขณะที่ราคาส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยปี 2567 สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งมีราคาสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (ประมาณ 20,608.08 บาทต่อตัน) โดยฟิลิปปินส์เป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุด ปริมาณ 3.6 ล้านตัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนำเข้าข้าว ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567 มีปริมาณ 4.35 ล้านตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.34 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 76.8 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 556,248 ตัน (ร้อยละ 12.9) ปากีสถาน ปริมาณ 224,629 ตัน (ร้อยละ 5.2) เมียนมา ปริมาณ 197,952 ตัน และอินเดีย ปริมาณ 22,572 ตัน ตามลำดับ
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์เตรียมจำหน่ายข้าว 2 ชนิด ได้แก่ ข้าว Sulit และ ข้าว Nutri โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดราคาข้าวในตลาดฟิลิปปินส์และเพิ่มทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์
โดยข้าว Sulit เป็นข้าวขาวหัก ร้อยละ 100 ซึ่งมีคุณภาพดี โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 – 36 เปโซ (กิโลกรัมละ 19.69 – 20.25 บาท) และข้าว Nutri เป็นข้าวที่มีสารอาหารสูง ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวกล้อง โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 37 – 38 เปโซ (กิโลกรัมละ 20.82 – 21.38 บาท) ทั้งนี้ ข้าวทั้งสองชนิดจะเริ่มจำหน่ายในเขตเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ และขยายไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ ภายในปี 2568 ผ่านทางโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo ของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ และตลาดในบางพื้นที่ นอกจากนี้ นาย Arnel De Mesa ผู้ช่วยโฆษกกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo
ให้ได้ 700 แห่ง ภายในเดือนมีนาคม 2568 และขยายไปเป็น 1,500 แห่ง ภายในปี 2571 เพื่อให้สามารถกระจายข้าวราคาประหยัดไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5626 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 459.00 เซนต์ (6,284.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 451.00 เซนต์ (6,101.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 183.00 บาท


 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือนมกราคม 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.69 ล้านตัน (ร้อยละ 17.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.61
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.39
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,400 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,450 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.00


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.235 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.007 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2567 คิดเป็นร้อยละ 22.64 และร้อยละ 22.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.43 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,688.07 ริงกิตมาเลเซีย (36.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91             
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน



 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังโรงงานน้ำตาลทั้ง 58 แห่ง ให้รับเฉพาะอ้อยสดเข้าหีบ โดยชะลอ ระงับ ยับยั้ง และยุติการเผาไร่อ้อย พร้อมทั้งยุติการรับซื้ออ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2568 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 23.59 น. เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กสำหรับเยาวชนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ โดยข้อมูลภาพรวมเฉลี่ย ณ ปัจจุบัน (5 มกราคม 2568) มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดประมาณ 18 ล้านตัน โดยเป็นอ้อยไฟไหม้ประมาณ 4 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21.80 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เปิดเผยว่า หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน
หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of The People’s Republic of China (GACC) ได้ระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 และน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200 เนื่องจากตรวจพบความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหาร และความไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน ทั้งนี้ คำสั่งของ GACC มีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสม
รายใหม่จากประเทศไทย และ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้ และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทยก่อนวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ สำหรับส่วนที่ส่งออกจากประเทศไทยหลังวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะถูกระงับการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขอยกเลิกการระงับนำเข้า โดยจะจัดส่งแนวทางการควบคุมความปลอดภัยอาหารในระบบการผลิตอาหารของไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับ 420 ที่กำกับดูแลโดย อย. พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก อย. แล้ว เพื่อขอให้จีนพิจารณายกเลิกระงับนำเข้าต่อไป (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, The Standard)
- รัฐบาลจีนระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าตามกรอบทั่วไปของชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation, MFN) สำหรับน้ำเชื่อม และน้ำตาลผสมบางประเภทจะเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 20 ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า มาตรการนี้จะช่วยลดการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสม
จากประเทศไทย เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ราคาน้ำตาลในประเทศจีนสูงขึ้น (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
          - Wilmar กล่าวว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยบริเวณภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปีการผลิต 2568/69
ยังคงคาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งความแห้งแล้งและฝนที่ตกหนักตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ทำให้เกิดความกังวลว่า อ้อยโรงงานจะไม่สามารถฟื้นตัวได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตน้ำตาลโดยรวม ด้านบริษัท
ที่ปรึกษา BTG คาดการณ์ว่า สภาพอากาศที่ดีขึ้นจะช่วยให้ปริมาณผลผลิตอ้อยของบริษัท Jalles Machado
ในปีการผลิต 2568/69 เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 53 - 55  หรืออาจสูงกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายการหีบอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 7.90 ล้านตันในปีการผลิต 2567/68 เป็น 9 ล้านตันภายในปีการผลิต 2569/70 (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 995.52 เซนต์ (12.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 990.10 เซนต์ (12.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 305.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.78 เซนต์ (32.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 39.66 เซนต์ (30.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.35


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.35
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1021.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1026.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 849.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,490.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,498.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 967.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1015.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1020.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.99 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,226 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,205 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,647 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,613 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 982 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.75 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.60 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 362  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 416  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 418  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 453 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.86 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 91.41 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.96 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
                                          

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 มกราคม 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.99 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.32 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.78 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.07 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 71.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น    
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา



 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 มกราคม 2568

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,778 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,639 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,339 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 35,150 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,430 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.26 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 918 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,530 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 927 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,581 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,967 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 851 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 497 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,070 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 748 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย 
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินแนวโน้มการส่งออกข้าว ในปี 2568 ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตข้าวจากหลายประเทศออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอินเดียที่เพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีปริมาณผลผลิตมากกว่าปกติถึง 4 – 5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งถือเป็นปริมาณสูงที่สุด
ในรอบหลายสิบปี สำหรับเวียดนามจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลกและมีการนำเข้าประมาณ 4 – 5 ล้านตัน ในปี 2567 ได้ประกาศว่าจะไม่นำเข้าข้าว
ในปี 2568 เนื่องจากมีนโยบายที่จะพึ่งพาตนเองในการผลผลิตข้าวภายในประเทศ ส่วนฟิลิปปินส์ยังคงนำเข้าข้าวปกติ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวในตลาดโลกขณะที่ความต้องการซื้อข้าวลดลง จะส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกและราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวลดลง หากไทยต้องการรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกจำเป็นต้องปรับราคาข้าวให้ใกล้เคียงกับราคาข้าวของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียขายข้าวขาวและข้าวนึ่งในราคาที่
ต่ำกว่าไทยประมาณตันละ 50 – 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 1,717.34 – 2,060.81 บาท) นอกจากนี้ ความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในปี 2568 ราคาข้าวเปลือกในประเทศมีโอกาสทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูง เช่น ข้าวสาลีมีปริมาณลดลง ทำให้
มีการหันมาใช้ปลายข้าวแทน รวมถึงราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีราคากิโลกรัมละ 11 บาท ขณะเดียวกัน
การบริโภคข้าวในประเทศคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะจากการบริโภคข้าวของแรงงานต่างด้าวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริโภคข้าวประมาณ 100 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งมากกว่าคนไทยที่บริโภคข้าวเฉลี่ย 72 กิโลกรัม/คน/ปี รวมถึงการบริโภคข้าวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรไทยยังมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าว โดยหันไปปลูกข้าวพื้นนุ่มที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่าอินเดียจะกลับมาส่งออกข้าวขาวแล้วก็ตาม
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2) เวียดนาม   
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทรายงานการส่งออกข้าวเวียดนามว่า ในปี 2567 มีปริมาณ
9 ล้านตัน มูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 195.78 พันล้านบาท) เป็นการสร้างสถิติใหม่ และ
เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ขณะที่ราคาส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยปี 2567 สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งมีราคาสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (ประมาณ 20,608.08 บาทต่อตัน) โดยฟิลิปปินส์เป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุด ปริมาณ 3.6 ล้านตัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนำเข้าข้าว ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567 มีปริมาณ 4.35 ล้านตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.34 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 76.8 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 556,248 ตัน (ร้อยละ 12.9) ปากีสถาน ปริมาณ 224,629 ตัน (ร้อยละ 5.2) เมียนมา ปริมาณ 197,952 ตัน และอินเดีย ปริมาณ 22,572 ตัน ตามลำดับ
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์เตรียมจำหน่ายข้าว 2 ชนิด ได้แก่ ข้าว Sulit และ ข้าว Nutri โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดราคาข้าวในตลาดฟิลิปปินส์และเพิ่มทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์
โดยข้าว Sulit เป็นข้าวขาวหัก ร้อยละ 100 ซึ่งมีคุณภาพดี โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 – 36 เปโซ (กิโลกรัมละ 19.69 – 20.25 บาท) และข้าว Nutri เป็นข้าวที่มีสารอาหารสูง ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวกล้อง โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 37 – 38 เปโซ (กิโลกรัมละ 20.82 – 21.38 บาท) ทั้งนี้ ข้าวทั้งสองชนิดจะเริ่มจำหน่ายในเขตเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ และขยายไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ ภายในปี 2568 ผ่านทางโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo ของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ และตลาดในบางพื้นที่ นอกจากนี้ นาย Arnel De Mesa ผู้ช่วยโฆษกกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo
ให้ได้ 700 แห่ง ภายในเดือนมีนาคม 2568 และขยายไปเป็น 1,500 แห่ง ภายในปี 2571 เพื่อให้สามารถกระจายข้าวราคาประหยัดไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5626 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 459.00 เซนต์ (6,284.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 451.00 เซนต์ (6,101.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 183.00 บาท


 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือนมกราคม 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.69 ล้านตัน (ร้อยละ 17.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.61
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.39
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,400 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,450 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.00


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.235 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.007 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2567 คิดเป็นร้อยละ 22.64 และร้อยละ 22.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.43 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,688.07 ริงกิตมาเลเซีย (36.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91             
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน



 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังโรงงานน้ำตาลทั้ง 58 แห่ง ให้รับเฉพาะอ้อยสดเข้าหีบ โดยชะลอ ระงับ ยับยั้ง และยุติการเผาไร่อ้อย พร้อมทั้งยุติการรับซื้ออ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2568 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 23.59 น. เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กสำหรับเยาวชนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ โดยข้อมูลภาพรวมเฉลี่ย ณ ปัจจุบัน (5 มกราคม 2568) มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดประมาณ 18 ล้านตัน โดยเป็นอ้อยไฟไหม้ประมาณ 4 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21.80 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เปิดเผยว่า หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน
หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of The People’s Republic of China (GACC) ได้ระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 และน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200 เนื่องจากตรวจพบความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหาร และความไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน ทั้งนี้ คำสั่งของ GACC มีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสม
รายใหม่จากประเทศไทย และ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้ และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทยก่อนวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ สำหรับส่วนที่ส่งออกจากประเทศไทยหลังวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะถูกระงับการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขอยกเลิกการระงับนำเข้า โดยจะจัดส่งแนวทางการควบคุมความปลอดภัยอาหารในระบบการผลิตอาหารของไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับ 420 ที่กำกับดูแลโดย อย. พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก อย. แล้ว เพื่อขอให้จีนพิจารณายกเลิกระงับนำเข้าต่อไป (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, The Standard)
- รัฐบาลจีนระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าตามกรอบทั่วไปของชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation, MFN) สำหรับน้ำเชื่อม และน้ำตาลผสมบางประเภทจะเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 20 ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า มาตรการนี้จะช่วยลดการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสม
จากประเทศไทย เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ราคาน้ำตาลในประเทศจีนสูงขึ้น (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
          - Wilmar กล่าวว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยบริเวณภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปีการผลิต 2568/69
ยังคงคาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งความแห้งแล้งและฝนที่ตกหนักตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ทำให้เกิดความกังวลว่า อ้อยโรงงานจะไม่สามารถฟื้นตัวได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตน้ำตาลโดยรวม ด้านบริษัท
ที่ปรึกษา BTG คาดการณ์ว่า สภาพอากาศที่ดีขึ้นจะช่วยให้ปริมาณผลผลิตอ้อยของบริษัท Jalles Machado
ในปีการผลิต 2568/69 เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 53 - 55  หรืออาจสูงกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายการหีบอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 7.90 ล้านตันในปีการผลิต 2567/68 เป็น 9 ล้านตันภายในปีการผลิต 2569/70 (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 995.52 เซนต์ (12.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 990.10 เซนต์ (12.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 305.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.78 เซนต์ (32.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 39.66 เซนต์ (30.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.35


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.35
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1021.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1026.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 849.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,490.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,498.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 967.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1015.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1020.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.99 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,226 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,205 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,647 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,613 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 982 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.75 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.60 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 362  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 416  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 418  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 453 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.86 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 91.41 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.96 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
                                          

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 มกราคม 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.99 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.32 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.78 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.07 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 71.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น    
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา



 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 มกราคม 2568

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,778 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,639 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,339 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 35,150 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,430 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.26 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 918 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,530 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 927 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,581 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,967 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 851 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 497 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,070 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 748 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย 
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินแนวโน้มการส่งออกข้าว ในปี 2568 ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตข้าวจากหลายประเทศออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอินเดียที่เพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีปริมาณผลผลิตมากกว่าปกติถึง 4 – 5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งถือเป็นปริมาณสูงที่สุด
ในรอบหลายสิบปี สำหรับเวียดนามจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลกและมีการนำเข้าประมาณ 4 – 5 ล้านตัน ในปี 2567 ได้ประกาศว่าจะไม่นำเข้าข้าว
ในปี 2568 เนื่องจากมีนโยบายที่จะพึ่งพาตนเองในการผลผลิตข้าวภายในประเทศ ส่วนฟิลิปปินส์ยังคงนำเข้าข้าวปกติ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวในตลาดโลกขณะที่ความต้องการซื้อข้าวลดลง จะส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกและราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวลดลง หากไทยต้องการรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกจำเป็นต้องปรับราคาข้าวให้ใกล้เคียงกับราคาข้าวของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียขายข้าวขาวและข้าวนึ่งในราคาที่
ต่ำกว่าไทยประมาณตันละ 50 – 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 1,717.34 – 2,060.81 บาท) นอกจากนี้ ความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในปี 2568 ราคาข้าวเปลือกในประเทศมีโอกาสทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูง เช่น ข้าวสาลีมีปริมาณลดลง ทำให้
มีการหันมาใช้ปลายข้าวแทน รวมถึงราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีราคากิโลกรัมละ 11 บาท ขณะเดียวกัน
การบริโภคข้าวในประเทศคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะจากการบริโภคข้าวของแรงงานต่างด้าวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริโภคข้าวประมาณ 100 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งมากกว่าคนไทยที่บริโภคข้าวเฉลี่ย 72 กิโลกรัม/คน/ปี รวมถึงการบริโภคข้าวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรไทยยังมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าว โดยหันไปปลูกข้าวพื้นนุ่มที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่าอินเดียจะกลับมาส่งออกข้าวขาวแล้วก็ตาม
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2) เวียดนาม   
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทรายงานการส่งออกข้าวเวียดนามว่า ในปี 2567 มีปริมาณ
9 ล้านตัน มูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 195.78 พันล้านบาท) เป็นการสร้างสถิติใหม่ และ
เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ขณะที่ราคาส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยปี 2567 สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งมีราคาสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (ประมาณ 20,608.08 บาทต่อตัน) โดยฟิลิปปินส์เป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุด ปริมาณ 3.6 ล้านตัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนำเข้าข้าว ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567 มีปริมาณ 4.35 ล้านตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.34 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 76.8 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 556,248 ตัน (ร้อยละ 12.9) ปากีสถาน ปริมาณ 224,629 ตัน (ร้อยละ 5.2) เมียนมา ปริมาณ 197,952 ตัน และอินเดีย ปริมาณ 22,572 ตัน ตามลำดับ
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์เตรียมจำหน่ายข้าว 2 ชนิด ได้แก่ ข้าว Sulit และ ข้าว Nutri โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดราคาข้าวในตลาดฟิลิปปินส์และเพิ่มทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์
โดยข้าว Sulit เป็นข้าวขาวหัก ร้อยละ 100 ซึ่งมีคุณภาพดี โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 – 36 เปโซ (กิโลกรัมละ 19.69 – 20.25 บาท) และข้าว Nutri เป็นข้าวที่มีสารอาหารสูง ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวกล้อง โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 37 – 38 เปโซ (กิโลกรัมละ 20.82 – 21.38 บาท) ทั้งนี้ ข้าวทั้งสองชนิดจะเริ่มจำหน่ายในเขตเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ และขยายไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ ภายในปี 2568 ผ่านทางโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo ของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ และตลาดในบางพื้นที่ นอกจากนี้ นาย Arnel De Mesa ผู้ช่วยโฆษกกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo
ให้ได้ 700 แห่ง ภายในเดือนมีนาคม 2568 และขยายไปเป็น 1,500 แห่ง ภายในปี 2571 เพื่อให้สามารถกระจายข้าวราคาประหยัดไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5626 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 459.00 เซนต์ (6,284.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 451.00 เซนต์ (6,101.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 183.00 บาท


 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือนมกราคม 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.69 ล้านตัน (ร้อยละ 17.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.61
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.39
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,400 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,450 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.00


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.235 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.007 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2567 คิดเป็นร้อยละ 22.64 และร้อยละ 22.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.43 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,688.07 ริงกิตมาเลเซีย (36.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91             
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน



 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังโรงงานน้ำตาลทั้ง 58 แห่ง ให้รับเฉพาะอ้อยสดเข้าหีบ โดยชะลอ ระงับ ยับยั้ง และยุติการเผาไร่อ้อย พร้อมทั้งยุติการรับซื้ออ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2568 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 23.59 น. เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กสำหรับเยาวชนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ โดยข้อมูลภาพรวมเฉลี่ย ณ ปัจจุบัน (5 มกราคม 2568) มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดประมาณ 18 ล้านตัน โดยเป็นอ้อยไฟไหม้ประมาณ 4 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21.80 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เปิดเผยว่า หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน
หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of The People’s Republic of China (GACC) ได้ระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 และน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200 เนื่องจากตรวจพบความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหาร และความไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน ทั้งนี้ คำสั่งของ GACC มีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสม
รายใหม่จากประเทศไทย และ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้ และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทยก่อนวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ สำหรับส่วนที่ส่งออกจากประเทศไทยหลังวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะถูกระงับการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขอยกเลิกการระงับนำเข้า โดยจะจัดส่งแนวทางการควบคุมความปลอดภัยอาหารในระบบการผลิตอาหารของไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับ 420 ที่กำกับดูแลโดย อย. พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก อย. แล้ว เพื่อขอให้จีนพิจารณายกเลิกระงับนำเข้าต่อไป (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, The Standard)
- รัฐบาลจีนระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าตามกรอบทั่วไปของชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation, MFN) สำหรับน้ำเชื่อม และน้ำตาลผสมบางประเภทจะเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 20 ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า มาตรการนี้จะช่วยลดการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสม
จากประเทศไทย เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ราคาน้ำตาลในประเทศจีนสูงขึ้น (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
          - Wilmar กล่าวว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยบริเวณภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปีการผลิต 2568/69
ยังคงคาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งความแห้งแล้งและฝนที่ตกหนักตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ทำให้เกิดความกังวลว่า อ้อยโรงงานจะไม่สามารถฟื้นตัวได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตน้ำตาลโดยรวม ด้านบริษัท
ที่ปรึกษา BTG คาดการณ์ว่า สภาพอากาศที่ดีขึ้นจะช่วยให้ปริมาณผลผลิตอ้อยของบริษัท Jalles Machado
ในปีการผลิต 2568/69 เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 53 - 55  หรืออาจสูงกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายการหีบอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 7.90 ล้านตันในปีการผลิต 2567/68 เป็น 9 ล้านตันภายในปีการผลิต 2569/70 (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 995.52 เซนต์ (12.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 990.10 เซนต์ (12.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 305.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.78 เซนต์ (32.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 39.66 เซนต์ (30.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.35


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.35
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1021.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1026.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 849.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,490.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,498.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 967.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1015.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1020.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.99 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,226 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,205 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,647 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,613 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 982 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.75 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.60 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 362  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 416  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 418  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 453 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.86 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 91.41 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.96 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
                                          

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 มกราคม 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.99 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.32 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.78 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.07 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 71.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น    
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา



 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 มกราคม 2568

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,778 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,639 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,339 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 35,150 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,430 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.26 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 918 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,530 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 927 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,581 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,967 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 851 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 497 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,070 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 748 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย 
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินแนวโน้มการส่งออกข้าว ในปี 2568 ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตข้าวจากหลายประเทศออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอินเดียที่เพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีปริมาณผลผลิตมากกว่าปกติถึง 4 – 5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งถือเป็นปริมาณสูงที่สุด
ในรอบหลายสิบปี สำหรับเวียดนามจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลกและมีการนำเข้าประมาณ 4 – 5 ล้านตัน ในปี 2567 ได้ประกาศว่าจะไม่นำเข้าข้าว
ในปี 2568 เนื่องจากมีนโยบายที่จะพึ่งพาตนเองในการผลผลิตข้าวภายในประเทศ ส่วนฟิลิปปินส์ยังคงนำเข้าข้าวปกติ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวในตลาดโลกขณะที่ความต้องการซื้อข้าวลดลง จะส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกและราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวลดลง หากไทยต้องการรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกจำเป็นต้องปรับราคาข้าวให้ใกล้เคียงกับราคาข้าวของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียขายข้าวขาวและข้าวนึ่งในราคาที่
ต่ำกว่าไทยประมาณตันละ 50 – 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 1,717.34 – 2,060.81 บาท) นอกจากนี้ ความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในปี 2568 ราคาข้าวเปลือกในประเทศมีโอกาสทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูง เช่น ข้าวสาลีมีปริมาณลดลง ทำให้
มีการหันมาใช้ปลายข้าวแทน รวมถึงราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีราคากิโลกรัมละ 11 บาท ขณะเดียวกัน
การบริโภคข้าวในประเทศคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะจากการบริโภคข้าวของแรงงานต่างด้าวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริโภคข้าวประมาณ 100 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งมากกว่าคนไทยที่บริโภคข้าวเฉลี่ย 72 กิโลกรัม/คน/ปี รวมถึงการบริโภคข้าวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรไทยยังมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าว โดยหันไปปลูกข้าวพื้นนุ่มที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่าอินเดียจะกลับมาส่งออกข้าวขาวแล้วก็ตาม
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2) เวียดนาม   
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทรายงานการส่งออกข้าวเวียดนามว่า ในปี 2567 มีปริมาณ
9 ล้านตัน มูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 195.78 พันล้านบาท) เป็นการสร้างสถิติใหม่ และ
เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ขณะที่ราคาส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยปี 2567 สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งมีราคาสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (ประมาณ 20,608.08 บาทต่อตัน) โดยฟิลิปปินส์เป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุด ปริมาณ 3.6 ล้านตัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนำเข้าข้าว ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567 มีปริมาณ 4.35 ล้านตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.34 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 76.8 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 556,248 ตัน (ร้อยละ 12.9) ปากีสถาน ปริมาณ 224,629 ตัน (ร้อยละ 5.2) เมียนมา ปริมาณ 197,952 ตัน และอินเดีย ปริมาณ 22,572 ตัน ตามลำดับ
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์เตรียมจำหน่ายข้าว 2 ชนิด ได้แก่ ข้าว Sulit และ ข้าว Nutri โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดราคาข้าวในตลาดฟิลิปปินส์และเพิ่มทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์
โดยข้าว Sulit เป็นข้าวขาวหัก ร้อยละ 100 ซึ่งมีคุณภาพดี โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 – 36 เปโซ (กิโลกรัมละ 19.69 – 20.25 บาท) และข้าว Nutri เป็นข้าวที่มีสารอาหารสูง ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวกล้อง โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 37 – 38 เปโซ (กิโลกรัมละ 20.82 – 21.38 บาท) ทั้งนี้ ข้าวทั้งสองชนิดจะเริ่มจำหน่ายในเขตเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ และขยายไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ ภายในปี 2568 ผ่านทางโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo ของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ และตลาดในบางพื้นที่ นอกจากนี้ นาย Arnel De Mesa ผู้ช่วยโฆษกกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo
ให้ได้ 700 แห่ง ภายในเดือนมีนาคม 2568 และขยายไปเป็น 1,500 แห่ง ภายในปี 2571 เพื่อให้สามารถกระจายข้าวราคาประหยัดไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5626 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 459.00 เซนต์ (6,284.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 451.00 เซนต์ (6,101.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 183.00 บาท


 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือนมกราคม 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.69 ล้านตัน (ร้อยละ 17.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.61
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.39
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,400 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,450 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.00


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.235 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.007 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2567 คิดเป็นร้อยละ 22.64 และร้อยละ 22.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.43 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,688.07 ริงกิตมาเลเซีย (36.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91             
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน



 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังโรงงานน้ำตาลทั้ง 58 แห่ง ให้รับเฉพาะอ้อยสดเข้าหีบ โดยชะลอ ระงับ ยับยั้ง และยุติการเผาไร่อ้อย พร้อมทั้งยุติการรับซื้ออ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2568 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 23.59 น. เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กสำหรับเยาวชนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ โดยข้อมูลภาพรวมเฉลี่ย ณ ปัจจุบัน (5 มกราคม 2568) มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดประมาณ 18 ล้านตัน โดยเป็นอ้อยไฟไหม้ประมาณ 4 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21.80 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เปิดเผยว่า หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน
หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of The People’s Republic of China (GACC) ได้ระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 และน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200 เนื่องจากตรวจพบความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหาร และความไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน ทั้งนี้ คำสั่งของ GACC มีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสม
รายใหม่จากประเทศไทย และ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้ และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทยก่อนวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ สำหรับส่วนที่ส่งออกจากประเทศไทยหลังวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะถูกระงับการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขอยกเลิกการระงับนำเข้า โดยจะจัดส่งแนวทางการควบคุมความปลอดภัยอาหารในระบบการผลิตอาหารของไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับ 420 ที่กำกับดูแลโดย อย. พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก อย. แล้ว เพื่อขอให้จีนพิจารณายกเลิกระงับนำเข้าต่อไป (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, The Standard)
- รัฐบาลจีนระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าตามกรอบทั่วไปของชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation, MFN) สำหรับน้ำเชื่อม และน้ำตาลผสมบางประเภทจะเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 20 ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า มาตรการนี้จะช่วยลดการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสม
จากประเทศไทย เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ราคาน้ำตาลในประเทศจีนสูงขึ้น (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
          - Wilmar กล่าวว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยบริเวณภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปีการผลิต 2568/69
ยังคงคาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งความแห้งแล้งและฝนที่ตกหนักตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ทำให้เกิดความกังวลว่า อ้อยโรงงานจะไม่สามารถฟื้นตัวได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตน้ำตาลโดยรวม ด้านบริษัท
ที่ปรึกษา BTG คาดการณ์ว่า สภาพอากาศที่ดีขึ้นจะช่วยให้ปริมาณผลผลิตอ้อยของบริษัท Jalles Machado
ในปีการผลิต 2568/69 เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 53 - 55  หรืออาจสูงกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายการหีบอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 7.90 ล้านตันในปีการผลิต 2567/68 เป็น 9 ล้านตันภายในปีการผลิต 2569/70 (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 995.52 เซนต์ (12.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 990.10 เซนต์ (12.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 305.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.78 เซนต์ (32.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 39.66 เซนต์ (30.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.35


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.35
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1021.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1026.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 849.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,490.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,498.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 967.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1015.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1020.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.99 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,226 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,205 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,647 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,613 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 982 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.75 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.60 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 362  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 416  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 418  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 453 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.86 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 91.41 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.96 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
                                          

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 มกราคม 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.99 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.32 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.78 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.07 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 71.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น    
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา



 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 มกราคม 2568

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,778 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,639 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,339 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 35,150 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,430 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.26 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 918 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,530 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 927 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,581 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,967 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 851 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 497 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,070 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 748 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย 
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินแนวโน้มการส่งออกข้าว ในปี 2568 ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตข้าวจากหลายประเทศออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอินเดียที่เพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีปริมาณผลผลิตมากกว่าปกติถึง 4 – 5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งถือเป็นปริมาณสูงที่สุด
ในรอบหลายสิบปี สำหรับเวียดนามจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลกและมีการนำเข้าประมาณ 4 – 5 ล้านตัน ในปี 2567 ได้ประกาศว่าจะไม่นำเข้าข้าว
ในปี 2568 เนื่องจากมีนโยบายที่จะพึ่งพาตนเองในการผลผลิตข้าวภายในประเทศ ส่วนฟิลิปปินส์ยังคงนำเข้าข้าวปกติ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวในตลาดโลกขณะที่ความต้องการซื้อข้าวลดลง จะส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกและราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวลดลง หากไทยต้องการรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกจำเป็นต้องปรับราคาข้าวให้ใกล้เคียงกับราคาข้าวของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียขายข้าวขาวและข้าวนึ่งในราคาที่
ต่ำกว่าไทยประมาณตันละ 50 – 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 1,717.34 – 2,060.81 บาท) นอกจากนี้ ความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในปี 2568 ราคาข้าวเปลือกในประเทศมีโอกาสทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูง เช่น ข้าวสาลีมีปริมาณลดลง ทำให้
มีการหันมาใช้ปลายข้าวแทน รวมถึงราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีราคากิโลกรัมละ 11 บาท ขณะเดียวกัน
การบริโภคข้าวในประเทศคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะจากการบริโภคข้าวของแรงงานต่างด้าวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริโภคข้าวประมาณ 100 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งมากกว่าคนไทยที่บริโภคข้าวเฉลี่ย 72 กิโลกรัม/คน/ปี รวมถึงการบริโภคข้าวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรไทยยังมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าว โดยหันไปปลูกข้าวพื้นนุ่มที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่าอินเดียจะกลับมาส่งออกข้าวขาวแล้วก็ตาม
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2) เวียดนาม   
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทรายงานการส่งออกข้าวเวียดนามว่า ในปี 2567 มีปริมาณ
9 ล้านตัน มูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 195.78 พันล้านบาท) เป็นการสร้างสถิติใหม่ และ
เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ขณะที่ราคาส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยปี 2567 สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งมีราคาสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (ประมาณ 20,608.08 บาทต่อตัน) โดยฟิลิปปินส์เป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุด ปริมาณ 3.6 ล้านตัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนำเข้าข้าว ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567 มีปริมาณ 4.35 ล้านตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.34 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 76.8 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 556,248 ตัน (ร้อยละ 12.9) ปากีสถาน ปริมาณ 224,629 ตัน (ร้อยละ 5.2) เมียนมา ปริมาณ 197,952 ตัน และอินเดีย ปริมาณ 22,572 ตัน ตามลำดับ
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์เตรียมจำหน่ายข้าว 2 ชนิด ได้แก่ ข้าว Sulit และ ข้าว Nutri โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดราคาข้าวในตลาดฟิลิปปินส์และเพิ่มทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์
โดยข้าว Sulit เป็นข้าวขาวหัก ร้อยละ 100 ซึ่งมีคุณภาพดี โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 – 36 เปโซ (กิโลกรัมละ 19.69 – 20.25 บาท) และข้าว Nutri เป็นข้าวที่มีสารอาหารสูง ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวกล้อง โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 37 – 38 เปโซ (กิโลกรัมละ 20.82 – 21.38 บาท) ทั้งนี้ ข้าวทั้งสองชนิดจะเริ่มจำหน่ายในเขตเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ และขยายไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ ภายในปี 2568 ผ่านทางโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo ของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ และตลาดในบางพื้นที่ นอกจากนี้ นาย Arnel De Mesa ผู้ช่วยโฆษกกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo
ให้ได้ 700 แห่ง ภายในเดือนมีนาคม 2568 และขยายไปเป็น 1,500 แห่ง ภายในปี 2571 เพื่อให้สามารถกระจายข้าวราคาประหยัดไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5626 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 459.00 เซนต์ (6,284.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 451.00 เซนต์ (6,101.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 183.00 บาท


 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือนมกราคม 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.69 ล้านตัน (ร้อยละ 17.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.61
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.39
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,400 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,450 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.00


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.235 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.007 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2567 คิดเป็นร้อยละ 22.64 และร้อยละ 22.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.43 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,688.07 ริงกิตมาเลเซีย (36.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91             
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน



 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังโรงงานน้ำตาลทั้ง 58 แห่ง ให้รับเฉพาะอ้อยสดเข้าหีบ โดยชะลอ ระงับ ยับยั้ง และยุติการเผาไร่อ้อย พร้อมทั้งยุติการรับซื้ออ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2568 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 23.59 น. เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กสำหรับเยาวชนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ โดยข้อมูลภาพรวมเฉลี่ย ณ ปัจจุบัน (5 มกราคม 2568) มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดประมาณ 18 ล้านตัน โดยเป็นอ้อยไฟไหม้ประมาณ 4 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21.80 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เปิดเผยว่า หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน
หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of The People’s Republic of China (GACC) ได้ระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 และน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200 เนื่องจากตรวจพบความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหาร และความไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน ทั้งนี้ คำสั่งของ GACC มีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสม
รายใหม่จากประเทศไทย และ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้ และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทยก่อนวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ สำหรับส่วนที่ส่งออกจากประเทศไทยหลังวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะถูกระงับการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขอยกเลิกการระงับนำเข้า โดยจะจัดส่งแนวทางการควบคุมความปลอดภัยอาหารในระบบการผลิตอาหารของไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับ 420 ที่กำกับดูแลโดย อย. พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก อย. แล้ว เพื่อขอให้จีนพิจารณายกเลิกระงับนำเข้าต่อไป (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, The Standard)
- รัฐบาลจีนระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าตามกรอบทั่วไปของชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation, MFN) สำหรับน้ำเชื่อม และน้ำตาลผสมบางประเภทจะเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 20 ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า มาตรการนี้จะช่วยลดการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสม
จากประเทศไทย เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ราคาน้ำตาลในประเทศจีนสูงขึ้น (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
          - Wilmar กล่าวว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยบริเวณภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปีการผลิต 2568/69
ยังคงคาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งความแห้งแล้งและฝนที่ตกหนักตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ทำให้เกิดความกังวลว่า อ้อยโรงงานจะไม่สามารถฟื้นตัวได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตน้ำตาลโดยรวม ด้านบริษัท
ที่ปรึกษา BTG คาดการณ์ว่า สภาพอากาศที่ดีขึ้นจะช่วยให้ปริมาณผลผลิตอ้อยของบริษัท Jalles Machado
ในปีการผลิต 2568/69 เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 53 - 55  หรืออาจสูงกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายการหีบอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 7.90 ล้านตันในปีการผลิต 2567/68 เป็น 9 ล้านตันภายในปีการผลิต 2569/70 (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 995.52 เซนต์ (12.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 990.10 เซนต์ (12.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 305.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.78 เซนต์ (32.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 39.66 เซนต์ (30.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.35


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.35
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1021.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1026.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 849.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,490.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,498.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 967.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1015.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1020.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.99 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,226 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,205 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,647 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,613 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 982 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.75 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.60 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 362  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 416  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 418  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 453 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.86 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 91.41 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.96 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
                                          

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 มกราคม 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.99 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.32 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.78 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.07 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 71.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น    
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา



 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 มกราคม 2568

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,778 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,639 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,339 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 35,150 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,430 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.26 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 918 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,530 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 927 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,581 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,967 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 851 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 497 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,070 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 748 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย 
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินแนวโน้มการส่งออกข้าว ในปี 2568 ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตข้าวจากหลายประเทศออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอินเดียที่เพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีปริมาณผลผลิตมากกว่าปกติถึง 4 – 5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งถือเป็นปริมาณสูงที่สุด
ในรอบหลายสิบปี สำหรับเวียดนามจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลกและมีการนำเข้าประมาณ 4 – 5 ล้านตัน ในปี 2567 ได้ประกาศว่าจะไม่นำเข้าข้าว
ในปี 2568 เนื่องจากมีนโยบายที่จะพึ่งพาตนเองในการผลผลิตข้าวภายในประเทศ ส่วนฟิลิปปินส์ยังคงนำเข้าข้าวปกติ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวในตลาดโลกขณะที่ความต้องการซื้อข้าวลดลง จะส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกและราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวลดลง หากไทยต้องการรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกจำเป็นต้องปรับราคาข้าวให้ใกล้เคียงกับราคาข้าวของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียขายข้าวขาวและข้าวนึ่งในราคาที่
ต่ำกว่าไทยประมาณตันละ 50 – 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 1,717.34 – 2,060.81 บาท) นอกจากนี้ ความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในปี 2568 ราคาข้าวเปลือกในประเทศมีโอกาสทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูง เช่น ข้าวสาลีมีปริมาณลดลง ทำให้
มีการหันมาใช้ปลายข้าวแทน รวมถึงราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีราคากิโลกรัมละ 11 บาท ขณะเดียวกัน
การบริโภคข้าวในประเทศคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะจากการบริโภคข้าวของแรงงานต่างด้าวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริโภคข้าวประมาณ 100 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งมากกว่าคนไทยที่บริโภคข้าวเฉลี่ย 72 กิโลกรัม/คน/ปี รวมถึงการบริโภคข้าวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรไทยยังมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าว โดยหันไปปลูกข้าวพื้นนุ่มที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่าอินเดียจะกลับมาส่งออกข้าวขาวแล้วก็ตาม
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2) เวียดนาม   
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทรายงานการส่งออกข้าวเวียดนามว่า ในปี 2567 มีปริมาณ
9 ล้านตัน มูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 195.78 พันล้านบาท) เป็นการสร้างสถิติใหม่ และ
เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ขณะที่ราคาส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยปี 2567 สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งมีราคาสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (ประมาณ 20,608.08 บาทต่อตัน) โดยฟิลิปปินส์เป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุด ปริมาณ 3.6 ล้านตัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนำเข้าข้าว ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567 มีปริมาณ 4.35 ล้านตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.34 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 76.8 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 556,248 ตัน (ร้อยละ 12.9) ปากีสถาน ปริมาณ 224,629 ตัน (ร้อยละ 5.2) เมียนมา ปริมาณ 197,952 ตัน และอินเดีย ปริมาณ 22,572 ตัน ตามลำดับ
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์เตรียมจำหน่ายข้าว 2 ชนิด ได้แก่ ข้าว Sulit และ ข้าว Nutri โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดราคาข้าวในตลาดฟิลิปปินส์และเพิ่มทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์
โดยข้าว Sulit เป็นข้าวขาวหัก ร้อยละ 100 ซึ่งมีคุณภาพดี โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 – 36 เปโซ (กิโลกรัมละ 19.69 – 20.25 บาท) และข้าว Nutri เป็นข้าวที่มีสารอาหารสูง ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวกล้อง โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 37 – 38 เปโซ (กิโลกรัมละ 20.82 – 21.38 บาท) ทั้งนี้ ข้าวทั้งสองชนิดจะเริ่มจำหน่ายในเขตเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ และขยายไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ ภายในปี 2568 ผ่านทางโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo ของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ และตลาดในบางพื้นที่ นอกจากนี้ นาย Arnel De Mesa ผู้ช่วยโฆษกกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo
ให้ได้ 700 แห่ง ภายในเดือนมีนาคม 2568 และขยายไปเป็น 1,500 แห่ง ภายในปี 2571 เพื่อให้สามารถกระจายข้าวราคาประหยัดไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5626 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 459.00 เซนต์ (6,284.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 451.00 เซนต์ (6,101.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 183.00 บาท


 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือนมกราคม 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.69 ล้านตัน (ร้อยละ 17.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.61
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.39
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,400 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,450 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.00


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.235 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.007 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2567 คิดเป็นร้อยละ 22.64 และร้อยละ 22.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.43 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,688.07 ริงกิตมาเลเซีย (36.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91             
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน



 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังโรงงานน้ำตาลทั้ง 58 แห่ง ให้รับเฉพาะอ้อยสดเข้าหีบ โดยชะลอ ระงับ ยับยั้ง และยุติการเผาไร่อ้อย พร้อมทั้งยุติการรับซื้ออ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2568 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 23.59 น. เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กสำหรับเยาวชนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ โดยข้อมูลภาพรวมเฉลี่ย ณ ปัจจุบัน (5 มกราคม 2568) มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดประมาณ 18 ล้านตัน โดยเป็นอ้อยไฟไหม้ประมาณ 4 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21.80 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เปิดเผยว่า หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน
หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of The People’s Republic of China (GACC) ได้ระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 และน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200 เนื่องจากตรวจพบความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหาร และความไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน ทั้งนี้ คำสั่งของ GACC มีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสม
รายใหม่จากประเทศไทย และ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้ และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทยก่อนวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ สำหรับส่วนที่ส่งออกจากประเทศไทยหลังวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะถูกระงับการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขอยกเลิกการระงับนำเข้า โดยจะจัดส่งแนวทางการควบคุมความปลอดภัยอาหารในระบบการผลิตอาหารของไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับ 420 ที่กำกับดูแลโดย อย. พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก อย. แล้ว เพื่อขอให้จีนพิจารณายกเลิกระงับนำเข้าต่อไป (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, The Standard)
- รัฐบาลจีนระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าตามกรอบทั่วไปของชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation, MFN) สำหรับน้ำเชื่อม และน้ำตาลผสมบางประเภทจะเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 20 ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า มาตรการนี้จะช่วยลดการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสม
จากประเทศไทย เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ราคาน้ำตาลในประเทศจีนสูงขึ้น (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
          - Wilmar กล่าวว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยบริเวณภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปีการผลิต 2568/69
ยังคงคาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งความแห้งแล้งและฝนที่ตกหนักตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ทำให้เกิดความกังวลว่า อ้อยโรงงานจะไม่สามารถฟื้นตัวได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตน้ำตาลโดยรวม ด้านบริษัท
ที่ปรึกษา BTG คาดการณ์ว่า สภาพอากาศที่ดีขึ้นจะช่วยให้ปริมาณผลผลิตอ้อยของบริษัท Jalles Machado
ในปีการผลิต 2568/69 เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 53 - 55  หรืออาจสูงกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายการหีบอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 7.90 ล้านตันในปีการผลิต 2567/68 เป็น 9 ล้านตันภายในปีการผลิต 2569/70 (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 995.52 เซนต์ (12.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 990.10 เซนต์ (12.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 305.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.78 เซนต์ (32.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 39.66 เซนต์ (30.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.35


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.35
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1021.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1026.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 849.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,490.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,498.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 967.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1015.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1020.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.99 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,226 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,205 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,647 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,613 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 982 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.75 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.60 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 362  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 416  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 418  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 453 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.86 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 91.41 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.96 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
                                          

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 มกราคม 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.99 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.32 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.78 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.07 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 71.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น    
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา



 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 มกราคม 2568

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,778 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,639 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,339 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 35,150 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,430 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.26 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 918 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,530 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 927 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,581 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,967 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 851 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 497 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,070 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 748 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย 
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินแนวโน้มการส่งออกข้าว ในปี 2568 ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตข้าวจากหลายประเทศออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอินเดียที่เพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีปริมาณผลผลิตมากกว่าปกติถึง 4 – 5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งถือเป็นปริมาณสูงที่สุด
ในรอบหลายสิบปี สำหรับเวียดนามจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลกและมีการนำเข้าประมาณ 4 – 5 ล้านตัน ในปี 2567 ได้ประกาศว่าจะไม่นำเข้าข้าว
ในปี 2568 เนื่องจากมีนโยบายที่จะพึ่งพาตนเองในการผลผลิตข้าวภายในประเทศ ส่วนฟิลิปปินส์ยังคงนำเข้าข้าวปกติ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวในตลาดโลกขณะที่ความต้องการซื้อข้าวลดลง จะส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกและราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวลดลง หากไทยต้องการรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกจำเป็นต้องปรับราคาข้าวให้ใกล้เคียงกับราคาข้าวของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียขายข้าวขาวและข้าวนึ่งในราคาที่
ต่ำกว่าไทยประมาณตันละ 50 – 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 1,717.34 – 2,060.81 บาท) นอกจากนี้ ความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในปี 2568 ราคาข้าวเปลือกในประเทศมีโอกาสทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูง เช่น ข้าวสาลีมีปริมาณลดลง ทำให้
มีการหันมาใช้ปลายข้าวแทน รวมถึงราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีราคากิโลกรัมละ 11 บาท ขณะเดียวกัน
การบริโภคข้าวในประเทศคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะจากการบริโภคข้าวของแรงงานต่างด้าวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริโภคข้าวประมาณ 100 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งมากกว่าคนไทยที่บริโภคข้าวเฉลี่ย 72 กิโลกรัม/คน/ปี รวมถึงการบริโภคข้าวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรไทยยังมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าว โดยหันไปปลูกข้าวพื้นนุ่มที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่าอินเดียจะกลับมาส่งออกข้าวขาวแล้วก็ตาม
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2) เวียดนาม   
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทรายงานการส่งออกข้าวเวียดนามว่า ในปี 2567 มีปริมาณ
9 ล้านตัน มูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 195.78 พันล้านบาท) เป็นการสร้างสถิติใหม่ และ
เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ขณะที่ราคาส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยปี 2567 สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งมีราคาสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (ประมาณ 20,608.08 บาทต่อตัน) โดยฟิลิปปินส์เป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุด ปริมาณ 3.6 ล้านตัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนำเข้าข้าว ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567 มีปริมาณ 4.35 ล้านตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.34 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 76.8 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 556,248 ตัน (ร้อยละ 12.9) ปากีสถาน ปริมาณ 224,629 ตัน (ร้อยละ 5.2) เมียนมา ปริมาณ 197,952 ตัน และอินเดีย ปริมาณ 22,572 ตัน ตามลำดับ
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์เตรียมจำหน่ายข้าว 2 ชนิด ได้แก่ ข้าว Sulit และ ข้าว Nutri โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดราคาข้าวในตลาดฟิลิปปินส์และเพิ่มทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์
โดยข้าว Sulit เป็นข้าวขาวหัก ร้อยละ 100 ซึ่งมีคุณภาพดี โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 – 36 เปโซ (กิโลกรัมละ 19.69 – 20.25 บาท) และข้าว Nutri เป็นข้าวที่มีสารอาหารสูง ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวกล้อง โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 37 – 38 เปโซ (กิโลกรัมละ 20.82 – 21.38 บาท) ทั้งนี้ ข้าวทั้งสองชนิดจะเริ่มจำหน่ายในเขตเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ และขยายไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ ภายในปี 2568 ผ่านทางโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo ของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ และตลาดในบางพื้นที่ นอกจากนี้ นาย Arnel De Mesa ผู้ช่วยโฆษกกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo
ให้ได้ 700 แห่ง ภายในเดือนมีนาคม 2568 และขยายไปเป็น 1,500 แห่ง ภายในปี 2571 เพื่อให้สามารถกระจายข้าวราคาประหยัดไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5626 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 459.00 เซนต์ (6,284.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 451.00 เซนต์ (6,101.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 183.00 บาท


 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือนมกราคม 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.69 ล้านตัน (ร้อยละ 17.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.61
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.39
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,400 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,450 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.00


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.235 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.007 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2567 คิดเป็นร้อยละ 22.64 และร้อยละ 22.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.43 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,688.07 ริงกิตมาเลเซีย (36.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91             
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน



 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังโรงงานน้ำตาลทั้ง 58 แห่ง ให้รับเฉพาะอ้อยสดเข้าหีบ โดยชะลอ ระงับ ยับยั้ง และยุติการเผาไร่อ้อย พร้อมทั้งยุติการรับซื้ออ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2568 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 23.59 น. เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กสำหรับเยาวชนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ โดยข้อมูลภาพรวมเฉลี่ย ณ ปัจจุบัน (5 มกราคม 2568) มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดประมาณ 18 ล้านตัน โดยเป็นอ้อยไฟไหม้ประมาณ 4 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21.80 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เปิดเผยว่า หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน
หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of The People’s Republic of China (GACC) ได้ระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 และน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200 เนื่องจากตรวจพบความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหาร และความไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน ทั้งนี้ คำสั่งของ GACC มีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสม
รายใหม่จากประเทศไทย และ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้ และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทยก่อนวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ สำหรับส่วนที่ส่งออกจากประเทศไทยหลังวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะถูกระงับการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขอยกเลิกการระงับนำเข้า โดยจะจัดส่งแนวทางการควบคุมความปลอดภัยอาหารในระบบการผลิตอาหารของไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับ 420 ที่กำกับดูแลโดย อย. พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก อย. แล้ว เพื่อขอให้จีนพิจารณายกเลิกระงับนำเข้าต่อไป (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, The Standard)
- รัฐบาลจีนระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าตามกรอบทั่วไปของชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation, MFN) สำหรับน้ำเชื่อม และน้ำตาลผสมบางประเภทจะเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 20 ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า มาตรการนี้จะช่วยลดการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสม
จากประเทศไทย เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ราคาน้ำตาลในประเทศจีนสูงขึ้น (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
          - Wilmar กล่าวว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยบริเวณภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปีการผลิต 2568/69
ยังคงคาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งความแห้งแล้งและฝนที่ตกหนักตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ทำให้เกิดความกังวลว่า อ้อยโรงงานจะไม่สามารถฟื้นตัวได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตน้ำตาลโดยรวม ด้านบริษัท
ที่ปรึกษา BTG คาดการณ์ว่า สภาพอากาศที่ดีขึ้นจะช่วยให้ปริมาณผลผลิตอ้อยของบริษัท Jalles Machado
ในปีการผลิต 2568/69 เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 53 - 55  หรืออาจสูงกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายการหีบอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 7.90 ล้านตันในปีการผลิต 2567/68 เป็น 9 ล้านตันภายในปีการผลิต 2569/70 (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 995.52 เซนต์ (12.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 990.10 เซนต์ (12.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 305.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.78 เซนต์ (32.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 39.66 เซนต์ (30.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.35


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.35
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1021.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1026.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 849.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,490.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,498.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 967.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1015.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1020.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.99 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,226 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,205 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,647 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,613 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 982 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.75 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.60 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 362  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 416  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 418  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 453 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.86 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 91.41 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.96 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
                                          

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 มกราคม 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.99 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.32 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.78 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.07 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 71.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น    
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา



 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 มกราคม 2568

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,778 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,639 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,339 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 35,150 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,430 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.26 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 918 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,530 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 927 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,581 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,967 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 851 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 497 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,070 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 748 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย 
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินแนวโน้มการส่งออกข้าว ในปี 2568 ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตข้าวจากหลายประเทศออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอินเดียที่เพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีปริมาณผลผลิตมากกว่าปกติถึง 4 – 5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งถือเป็นปริมาณสูงที่สุด
ในรอบหลายสิบปี สำหรับเวียดนามจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลกและมีการนำเข้าประมาณ 4 – 5 ล้านตัน ในปี 2567 ได้ประกาศว่าจะไม่นำเข้าข้าว
ในปี 2568 เนื่องจากมีนโยบายที่จะพึ่งพาตนเองในการผลผลิตข้าวภายในประเทศ ส่วนฟิลิปปินส์ยังคงนำเข้าข้าวปกติ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวในตลาดโลกขณะที่ความต้องการซื้อข้าวลดลง จะส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกและราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวลดลง หากไทยต้องการรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกจำเป็นต้องปรับราคาข้าวให้ใกล้เคียงกับราคาข้าวของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียขายข้าวขาวและข้าวนึ่งในราคาที่
ต่ำกว่าไทยประมาณตันละ 50 – 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 1,717.34 – 2,060.81 บาท) นอกจากนี้ ความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาทยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย
นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในปี 2568 ราคาข้าวเปลือกในประเทศมีโอกาสทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูง เช่น ข้าวสาลีมีปริมาณลดลง ทำให้
มีการหันมาใช้ปลายข้าวแทน รวมถึงราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีราคากิโลกรัมละ 11 บาท ขณะเดียวกัน
การบริโภคข้าวในประเทศคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะจากการบริโภคข้าวของแรงงานต่างด้าวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริโภคข้าวประมาณ 100 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งมากกว่าคนไทยที่บริโภคข้าวเฉลี่ย 72 กิโลกรัม/คน/ปี รวมถึงการบริโภคข้าวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรไทยยังมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าว โดยหันไปปลูกข้าวพื้นนุ่มที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่าอินเดียจะกลับมาส่งออกข้าวขาวแล้วก็ตาม
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
2) เวียดนาม   
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทรายงานการส่งออกข้าวเวียดนามว่า ในปี 2567 มีปริมาณ
9 ล้านตัน มูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 195.78 พันล้านบาท) เป็นการสร้างสถิติใหม่ และ
เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ขณะที่ราคาส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยปี 2567 สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งมีราคาสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (ประมาณ 20,608.08 บาทต่อตัน) โดยฟิลิปปินส์เป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุด ปริมาณ 3.6 ล้านตัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3468 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนำเข้าข้าว ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2567 มีปริมาณ 4.35 ล้านตัน โดยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.34 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 76.8 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 556,248 ตัน (ร้อยละ 12.9) ปากีสถาน ปริมาณ 224,629 ตัน (ร้อยละ 5.2) เมียนมา ปริมาณ 197,952 ตัน และอินเดีย ปริมาณ 22,572 ตัน ตามลำดับ
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์เตรียมจำหน่ายข้าว 2 ชนิด ได้แก่ ข้าว Sulit และ ข้าว Nutri โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดราคาข้าวในตลาดฟิลิปปินส์และเพิ่มทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์
โดยข้าว Sulit เป็นข้าวขาวหัก ร้อยละ 100 ซึ่งมีคุณภาพดี โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 – 36 เปโซ (กิโลกรัมละ 19.69 – 20.25 บาท) และข้าว Nutri เป็นข้าวที่มีสารอาหารสูง ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวกล้อง โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 37 – 38 เปโซ (กิโลกรัมละ 20.82 – 21.38 บาท) ทั้งนี้ ข้าวทั้งสองชนิดจะเริ่มจำหน่ายในเขตเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ และขยายไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ ภายในปี 2568 ผ่านทางโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo ของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ และตลาดในบางพื้นที่ นอกจากนี้ นาย Arnel De Mesa ผู้ช่วยโฆษกกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนโครงการศูนย์ Kadiwa ng Pangulo
ให้ได้ 700 แห่ง ภายในเดือนมีนาคม 2568 และขยายไปเป็น 1,500 แห่ง ภายในปี 2571 เพื่อให้สามารถกระจายข้าวราคาประหยัดไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5626 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 459.00 เซนต์ (6,284.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 451.00 เซนต์ (6,101.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 183.00 บาท


 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือนมกราคม 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.69 ล้านตัน (ร้อยละ 17.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.61
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.39
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,400 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,450 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.00


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.235 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.007 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2567 คิดเป็นร้อยละ 22.64 และร้อยละ 22.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.43 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,688.07 ริงกิตมาเลเซีย (36.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91             
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน



 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังโรงงานน้ำตาลทั้ง 58 แห่ง ให้รับเฉพาะอ้อยสดเข้าหีบ โดยชะลอ ระงับ ยับยั้ง และยุติการเผาไร่อ้อย พร้อมทั้งยุติการรับซื้ออ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2568 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 23.59 น. เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กสำหรับเยาวชนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ โดยข้อมูลภาพรวมเฉลี่ย ณ ปัจจุบัน (5 มกราคม 2568) มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดประมาณ 18 ล้านตัน โดยเป็นอ้อยไฟไหม้ประมาณ 4 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21.80 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย เปิดเผยว่า หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน
หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of The People’s Republic of China (GACC) ได้ระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 และน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200 เนื่องจากตรวจพบความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหาร และความไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน ทั้งนี้ คำสั่งของ GACC มีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสม
รายใหม่จากประเทศไทย และ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้ และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทยก่อนวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ สำหรับส่วนที่ส่งออกจากประเทศไทยหลังวันที่ 10 ธันวาคม 2567 จะถูกระงับการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขอยกเลิกการระงับนำเข้า โดยจะจัดส่งแนวทางการควบคุมความปลอดภัยอาหารในระบบการผลิตอาหารของไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับ 420 ที่กำกับดูแลโดย อย. พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก อย. แล้ว เพื่อขอให้จีนพิจารณายกเลิกระงับนำเข้าต่อไป (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, The Standard)
- รัฐบาลจีนระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าตามกรอบทั่วไปของชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation, MFN) สำหรับน้ำเชื่อม และน้ำตาลผสมบางประเภทจะเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 20 ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า มาตรการนี้จะช่วยลดการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสม
จากประเทศไทย เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ราคาน้ำตาลในประเทศจีนสูงขึ้น (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
          - Wilmar กล่าวว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยบริเวณภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปีการผลิต 2568/69
ยังคงคาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งความแห้งแล้งและฝนที่ตกหนักตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ทำให้เกิดความกังวลว่า อ้อยโรงงานจะไม่สามารถฟื้นตัวได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตน้ำตาลโดยรวม ด้านบริษัท
ที่ปรึกษา BTG คาดการณ์ว่า สภาพอากาศที่ดีขึ้นจะช่วยให้ปริมาณผลผลิตอ้อยของบริษัท Jalles Machado
ในปีการผลิต 2568/69 เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 53 - 55  หรืออาจสูงกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายการหีบอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 7.90 ล้านตันในปีการผลิต 2567/68 เป็น 9 ล้านตันภายในปีการผลิต 2569/70 (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 995.52 เซนต์ (12.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 990.10 เซนต์ (12.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 305.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.78 เซนต์ (32.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 39.66 เซนต์ (30.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.35


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.35
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1021.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1026.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 849.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,490.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,498.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 967.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1015.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1020.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.99 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,226 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,205 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,647 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,613 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 973 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 982 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.75 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.60 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 362  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 416  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 418  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 453 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.86 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 91.41 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.96 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
                                          

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 มกราคม 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.99 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.32 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.78 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.07 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 71.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น    
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา