- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์

สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 กุมภาพันธ์ 2568
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.73 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 489.00 เซนต์ (6,539.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 487.00 เซนต์ (6,507.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 32.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือน
กุมพาพันธ์ 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.77 ล้านตัน (ร้อยละ 21.21 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.80 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.79 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 420.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,190 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,120 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.395 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.251 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.235 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตันของเดือนมกราคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 12.96 และร้อยละ 13.06 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 9.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.96 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 49.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.83 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.43
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การนำเข้าน้ำมันปาล์มในเดือนมกราคมของอินเดียอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานกลั่นเลือกไปใช้น้ำมันพืชชนิดอื่นที่ราคาต่ำกว่าแทนน้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 46 จากเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 272,000 ตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,670.36 ริงกิตมาเลเซีย (36.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,526.42 ริงกิตมาเลเซีย (35.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.18
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,181.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,231.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (41.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.06
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ข้อมูลจากรายงาน ของ Sugar Commissionerate ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงงานน้ำตาลทรายในรัฐมหาราษฏะ (Maharashtra) จำนวน 9 แห่ง สิ้นสุดการหีบอ้อยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วยเขต Solapur จำนวน 7 โรงงาน และเขต Nanded จำนวน 2 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีเพียง 5 โรงงาน ที่มีการสิ้นสุดการหีบอ้อย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การที่โรงงานน้ำตาลทรายดำเนินการหีบอ้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ มีสาเหตุมาจากปริมาณผลผลิตของอ้อยโรงงานมีค่อนข้างน้อย และกำลังการหีบอ้อยเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังพบว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายน้อย เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตก่อนหน้า เนื่องจากการนำอ้อยโรงงานไปผลิตเอทานอลแทน (ที่มา: chinimandi.com)
- หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอ้อยโรงงานที่สำคัญของประเทศได้รับความเสียหาย เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องและน้ำท่วมหนักในพื้นที่ โดยอ้อยโรงงานในพื้นที่มีแนวโน้มเสียหายได้ถึง 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมยังทำให้การขนส่งระบบรางภายในพื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลต่อเนื่องไปยังปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายที่อาจลดลงประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายของออสเตรเลีย ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้หยุดการหีบอ้อยไว้ชั่วคราว ระหว่างฤดูฝน และจะกลับมาทำการหีบอ้อยต่ออีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม (ที่มา: Hindustan Times)
.png)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ร้อยละ 6.25
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ร้อยละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1040.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1046.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 860.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 865.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,458.80 ดอลลาร์สหรัฐ (48.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,526.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.45 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.22 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 920.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.89 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 986.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 974.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1040.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.48 บาท เพิ่มขั้นจากกิโลกรัมละ 36.88 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,074 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,232 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,471 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,647 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 973 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 กุมภาพันธ์ 2568
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.73 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 489.00 เซนต์ (6,539.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 487.00 เซนต์ (6,507.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 32.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือน
กุมพาพันธ์ 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.77 ล้านตัน (ร้อยละ 21.21 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.80 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.79 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 420.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,190 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,120 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.395 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.251 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.235 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตันของเดือนมกราคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 12.96 และร้อยละ 13.06 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 9.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.96 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 49.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.83 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.43
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การนำเข้าน้ำมันปาล์มในเดือนมกราคมของอินเดียอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานกลั่นเลือกไปใช้น้ำมันพืชชนิดอื่นที่ราคาต่ำกว่าแทนน้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 46 จากเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 272,000 ตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,670.36 ริงกิตมาเลเซีย (36.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,526.42 ริงกิตมาเลเซีย (35.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.18
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,181.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,231.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (41.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.06
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ข้อมูลจากรายงาน ของ Sugar Commissionerate ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงงานน้ำตาลทรายในรัฐมหาราษฏะ (Maharashtra) จำนวน 9 แห่ง สิ้นสุดการหีบอ้อยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วยเขต Solapur จำนวน 7 โรงงาน และเขต Nanded จำนวน 2 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีเพียง 5 โรงงาน ที่มีการสิ้นสุดการหีบอ้อย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การที่โรงงานน้ำตาลทรายดำเนินการหีบอ้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ มีสาเหตุมาจากปริมาณผลผลิตของอ้อยโรงงานมีค่อนข้างน้อย และกำลังการหีบอ้อยเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังพบว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายน้อย เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตก่อนหน้า เนื่องจากการนำอ้อยโรงงานไปผลิตเอทานอลแทน (ที่มา: chinimandi.com)
- หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอ้อยโรงงานที่สำคัญของประเทศได้รับความเสียหาย เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องและน้ำท่วมหนักในพื้นที่ โดยอ้อยโรงงานในพื้นที่มีแนวโน้มเสียหายได้ถึง 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมยังทำให้การขนส่งระบบรางภายในพื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลต่อเนื่องไปยังปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายที่อาจลดลงประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายของออสเตรเลีย ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้หยุดการหีบอ้อยไว้ชั่วคราว ระหว่างฤดูฝน และจะกลับมาทำการหีบอ้อยต่ออีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม (ที่มา: Hindustan Times)
.png)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ร้อยละ 6.25
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ร้อยละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1040.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1046.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 860.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 865.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,458.80 ดอลลาร์สหรัฐ (48.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,526.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.45 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.22 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 920.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.89 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 986.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 974.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1040.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.48 บาท เพิ่มขั้นจากกิโลกรัมละ 36.88 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,074 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,232 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,471 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,647 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 973 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 กุมภาพันธ์ 2568
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.73 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 489.00 เซนต์ (6,539.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 487.00 เซนต์ (6,507.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 32.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือน
กุมพาพันธ์ 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.77 ล้านตัน (ร้อยละ 21.21 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.80 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.79 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 420.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,190 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,120 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.395 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.251 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.235 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตันของเดือนมกราคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 12.96 และร้อยละ 13.06 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 9.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.96 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 49.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.83 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.43
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การนำเข้าน้ำมันปาล์มในเดือนมกราคมของอินเดียอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานกลั่นเลือกไปใช้น้ำมันพืชชนิดอื่นที่ราคาต่ำกว่าแทนน้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 46 จากเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 272,000 ตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,670.36 ริงกิตมาเลเซีย (36.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,526.42 ริงกิตมาเลเซีย (35.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.18
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,181.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,231.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (41.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.06
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ข้อมูลจากรายงาน ของ Sugar Commissionerate ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงงานน้ำตาลทรายในรัฐมหาราษฏะ (Maharashtra) จำนวน 9 แห่ง สิ้นสุดการหีบอ้อยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วยเขต Solapur จำนวน 7 โรงงาน และเขต Nanded จำนวน 2 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีเพียง 5 โรงงาน ที่มีการสิ้นสุดการหีบอ้อย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การที่โรงงานน้ำตาลทรายดำเนินการหีบอ้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ มีสาเหตุมาจากปริมาณผลผลิตของอ้อยโรงงานมีค่อนข้างน้อย และกำลังการหีบอ้อยเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังพบว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายน้อย เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตก่อนหน้า เนื่องจากการนำอ้อยโรงงานไปผลิตเอทานอลแทน (ที่มา: chinimandi.com)
- หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอ้อยโรงงานที่สำคัญของประเทศได้รับความเสียหาย เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องและน้ำท่วมหนักในพื้นที่ โดยอ้อยโรงงานในพื้นที่มีแนวโน้มเสียหายได้ถึง 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมยังทำให้การขนส่งระบบรางภายในพื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลต่อเนื่องไปยังปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายที่อาจลดลงประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายของออสเตรเลีย ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้หยุดการหีบอ้อยไว้ชั่วคราว ระหว่างฤดูฝน และจะกลับมาทำการหีบอ้อยต่ออีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม (ที่มา: Hindustan Times)
.png)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ร้อยละ 6.25
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ร้อยละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1040.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1046.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 860.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 865.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,458.80 ดอลลาร์สหรัฐ (48.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,526.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.45 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.22 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 920.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.89 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 986.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 974.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1040.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.48 บาท เพิ่มขั้นจากกิโลกรัมละ 36.88 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,074 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,232 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,471 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,647 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 973 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 กุมภาพันธ์ 2568
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.73 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 489.00 เซนต์ (6,539.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 487.00 เซนต์ (6,507.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 32.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือน
กุมพาพันธ์ 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.77 ล้านตัน (ร้อยละ 21.21 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.80 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.79 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 420.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,190 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,120 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.395 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.251 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.235 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตันของเดือนมกราคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 12.96 และร้อยละ 13.06 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 9.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.96 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 49.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.83 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.43
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การนำเข้าน้ำมันปาล์มในเดือนมกราคมของอินเดียอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานกลั่นเลือกไปใช้น้ำมันพืชชนิดอื่นที่ราคาต่ำกว่าแทนน้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 46 จากเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 272,000 ตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,670.36 ริงกิตมาเลเซีย (36.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,526.42 ริงกิตมาเลเซีย (35.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.18
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,181.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,231.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (41.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.06
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ข้อมูลจากรายงาน ของ Sugar Commissionerate ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงงานน้ำตาลทรายในรัฐมหาราษฏะ (Maharashtra) จำนวน 9 แห่ง สิ้นสุดการหีบอ้อยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วยเขต Solapur จำนวน 7 โรงงาน และเขต Nanded จำนวน 2 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีเพียง 5 โรงงาน ที่มีการสิ้นสุดการหีบอ้อย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การที่โรงงานน้ำตาลทรายดำเนินการหีบอ้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ มีสาเหตุมาจากปริมาณผลผลิตของอ้อยโรงงานมีค่อนข้างน้อย และกำลังการหีบอ้อยเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังพบว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายน้อย เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตก่อนหน้า เนื่องจากการนำอ้อยโรงงานไปผลิตเอทานอลแทน (ที่มา: chinimandi.com)
- หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอ้อยโรงงานที่สำคัญของประเทศได้รับความเสียหาย เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องและน้ำท่วมหนักในพื้นที่ โดยอ้อยโรงงานในพื้นที่มีแนวโน้มเสียหายได้ถึง 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมยังทำให้การขนส่งระบบรางภายในพื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลต่อเนื่องไปยังปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายที่อาจลดลงประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายของออสเตรเลีย ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้หยุดการหีบอ้อยไว้ชั่วคราว ระหว่างฤดูฝน และจะกลับมาทำการหีบอ้อยต่ออีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม (ที่มา: Hindustan Times)
.png)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ร้อยละ 6.25
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ร้อยละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1040.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1046.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 860.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 865.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,458.80 ดอลลาร์สหรัฐ (48.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,526.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.45 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.22 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 920.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.89 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 986.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 974.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1040.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.48 บาท เพิ่มขั้นจากกิโลกรัมละ 36.88 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,074 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,232 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,471 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,647 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 973 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 กุมภาพันธ์ 2568
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.73 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 489.00 เซนต์ (6,539.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 487.00 เซนต์ (6,507.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 32.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือน
กุมพาพันธ์ 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.77 ล้านตัน (ร้อยละ 21.21 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.80 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.79 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 420.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,190 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,120 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.395 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.251 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.235 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตันของเดือนมกราคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 12.96 และร้อยละ 13.06 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 9.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.96 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 49.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.83 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.43
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การนำเข้าน้ำมันปาล์มในเดือนมกราคมของอินเดียอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานกลั่นเลือกไปใช้น้ำมันพืชชนิดอื่นที่ราคาต่ำกว่าแทนน้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 46 จากเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 272,000 ตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,670.36 ริงกิตมาเลเซีย (36.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,526.42 ริงกิตมาเลเซีย (35.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.18
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,181.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,231.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (41.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.06
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ข้อมูลจากรายงาน ของ Sugar Commissionerate ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงงานน้ำตาลทรายในรัฐมหาราษฏะ (Maharashtra) จำนวน 9 แห่ง สิ้นสุดการหีบอ้อยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วยเขต Solapur จำนวน 7 โรงงาน และเขต Nanded จำนวน 2 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีเพียง 5 โรงงาน ที่มีการสิ้นสุดการหีบอ้อย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การที่โรงงานน้ำตาลทรายดำเนินการหีบอ้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ มีสาเหตุมาจากปริมาณผลผลิตของอ้อยโรงงานมีค่อนข้างน้อย และกำลังการหีบอ้อยเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังพบว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายน้อย เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตก่อนหน้า เนื่องจากการนำอ้อยโรงงานไปผลิตเอทานอลแทน (ที่มา: chinimandi.com)
- หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอ้อยโรงงานที่สำคัญของประเทศได้รับความเสียหาย เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องและน้ำท่วมหนักในพื้นที่ โดยอ้อยโรงงานในพื้นที่มีแนวโน้มเสียหายได้ถึง 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมยังทำให้การขนส่งระบบรางภายในพื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลต่อเนื่องไปยังปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายที่อาจลดลงประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายของออสเตรเลีย ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้หยุดการหีบอ้อยไว้ชั่วคราว ระหว่างฤดูฝน และจะกลับมาทำการหีบอ้อยต่ออีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม (ที่มา: Hindustan Times)
.png)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ร้อยละ 6.25
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ร้อยละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1040.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1046.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 860.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 865.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,458.80 ดอลลาร์สหรัฐ (48.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,526.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.45 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.22 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 920.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.89 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 986.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 974.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1040.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.48 บาท เพิ่มขั้นจากกิโลกรัมละ 36.88 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,074 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,232 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,471 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,647 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 973 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 กุมภาพันธ์ 2568
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.73 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 489.00 เซนต์ (6,539.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 487.00 เซนต์ (6,507.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 32.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือน
กุมพาพันธ์ 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.77 ล้านตัน (ร้อยละ 21.21 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.80 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.79 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 420.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,190 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,120 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.395 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.251 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.235 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตันของเดือนมกราคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 12.96 และร้อยละ 13.06 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 9.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.96 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 49.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.83 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.43
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การนำเข้าน้ำมันปาล์มในเดือนมกราคมของอินเดียอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานกลั่นเลือกไปใช้น้ำมันพืชชนิดอื่นที่ราคาต่ำกว่าแทนน้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 46 จากเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 272,000 ตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,670.36 ริงกิตมาเลเซีย (36.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,526.42 ริงกิตมาเลเซีย (35.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.18
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,181.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,231.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (41.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.06
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ข้อมูลจากรายงาน ของ Sugar Commissionerate ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงงานน้ำตาลทรายในรัฐมหาราษฏะ (Maharashtra) จำนวน 9 แห่ง สิ้นสุดการหีบอ้อยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วยเขต Solapur จำนวน 7 โรงงาน และเขต Nanded จำนวน 2 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีเพียง 5 โรงงาน ที่มีการสิ้นสุดการหีบอ้อย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การที่โรงงานน้ำตาลทรายดำเนินการหีบอ้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ มีสาเหตุมาจากปริมาณผลผลิตของอ้อยโรงงานมีค่อนข้างน้อย และกำลังการหีบอ้อยเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังพบว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายน้อย เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตก่อนหน้า เนื่องจากการนำอ้อยโรงงานไปผลิตเอทานอลแทน (ที่มา: chinimandi.com)
- หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอ้อยโรงงานที่สำคัญของประเทศได้รับความเสียหาย เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องและน้ำท่วมหนักในพื้นที่ โดยอ้อยโรงงานในพื้นที่มีแนวโน้มเสียหายได้ถึง 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมยังทำให้การขนส่งระบบรางภายในพื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลต่อเนื่องไปยังปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายที่อาจลดลงประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายของออสเตรเลีย ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้หยุดการหีบอ้อยไว้ชั่วคราว ระหว่างฤดูฝน และจะกลับมาทำการหีบอ้อยต่ออีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม (ที่มา: Hindustan Times)
.png)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ร้อยละ 6.25
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ร้อยละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1040.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1046.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 860.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 865.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,458.80 ดอลลาร์สหรัฐ (48.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,526.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.45 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.22 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 920.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.89 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 986.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 974.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1040.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.48 บาท เพิ่มขั้นจากกิโลกรัมละ 36.88 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,074 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,232 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,471 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,647 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 973 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 กุมภาพันธ์ 2568
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.73 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 489.00 เซนต์ (6,539.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 487.00 เซนต์ (6,507.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 32.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือน
กุมพาพันธ์ 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.77 ล้านตัน (ร้อยละ 21.21 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.80 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.79 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 420.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,190 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,120 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.395 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.251 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.235 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตันของเดือนมกราคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 12.96 และร้อยละ 13.06 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 9.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.96 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 49.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.83 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.43
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การนำเข้าน้ำมันปาล์มในเดือนมกราคมของอินเดียอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานกลั่นเลือกไปใช้น้ำมันพืชชนิดอื่นที่ราคาต่ำกว่าแทนน้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 46 จากเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 272,000 ตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,670.36 ริงกิตมาเลเซีย (36.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,526.42 ริงกิตมาเลเซีย (35.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.18
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,181.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,231.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (41.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.06
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ข้อมูลจากรายงาน ของ Sugar Commissionerate ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงงานน้ำตาลทรายในรัฐมหาราษฏะ (Maharashtra) จำนวน 9 แห่ง สิ้นสุดการหีบอ้อยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วยเขต Solapur จำนวน 7 โรงงาน และเขต Nanded จำนวน 2 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีเพียง 5 โรงงาน ที่มีการสิ้นสุดการหีบอ้อย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การที่โรงงานน้ำตาลทรายดำเนินการหีบอ้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ มีสาเหตุมาจากปริมาณผลผลิตของอ้อยโรงงานมีค่อนข้างน้อย และกำลังการหีบอ้อยเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังพบว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายน้อย เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตก่อนหน้า เนื่องจากการนำอ้อยโรงงานไปผลิตเอทานอลแทน (ที่มา: chinimandi.com)
- หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอ้อยโรงงานที่สำคัญของประเทศได้รับความเสียหาย เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องและน้ำท่วมหนักในพื้นที่ โดยอ้อยโรงงานในพื้นที่มีแนวโน้มเสียหายได้ถึง 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมยังทำให้การขนส่งระบบรางภายในพื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลต่อเนื่องไปยังปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายที่อาจลดลงประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายของออสเตรเลีย ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้หยุดการหีบอ้อยไว้ชั่วคราว ระหว่างฤดูฝน และจะกลับมาทำการหีบอ้อยต่ออีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม (ที่มา: Hindustan Times)
.png)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ร้อยละ 6.25
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ร้อยละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1040.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1046.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 860.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 865.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,458.80 ดอลลาร์สหรัฐ (48.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,526.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.45 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.22 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 920.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.89 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 986.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 974.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1040.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.48 บาท เพิ่มขั้นจากกิโลกรัมละ 36.88 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,074 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,232 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,471 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,647 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 973 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 กุมภาพันธ์ 2568
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.149 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.895 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.59 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.112 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 0.41 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.679 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.50 ต่อปี
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2568) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มระดับผลิตภาพของสินค้าข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4.61 ล้านครัวเรือน รัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนแก่เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณ 38,578.22 ล้านบาท
1.2.3 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
(5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,152 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,822 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 967 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 575 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,174 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 685 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 469 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,738 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,028 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4975 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก กำลังเผชิญกับความเสี่ยง หลังจากที่นาย Donald John Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากทั่วโลก นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ที่สินค้าข้าวของไทยอาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการเก็บภาษีสินค้าข้าวจากทุกประเทศ หากสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะเก็บภาษีหรือปรับอัตราภาษีขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวของไทยทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลให้การขายข้าวในตลาดสหรัฐฯ ยากขึ้น นอกจากนี้ การปรับภาษีอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
ปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพรีเมียมราคาสูง หากสหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีอาจทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการกับสินค้าอาหารเพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (Philippine News Agency) รายงานว่า กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture; DA) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางอาหารสำหรับข้าว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แม้ว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับลดลง และมีการปรับลดภาษีนําเข้าข้าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 นาย Francisco P. Tiu-Laurel, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้จะทำให้สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) สามารถระบายสต็อกข้าวสํารองออกสู่ตลาดได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและ
ให้มั่นใจว่าประชาชนชาวฟิลิปปินส์จะสามารถเข้าถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศได้อย่างเพียงพอ โดย NFA จะเริ่มจำหน่ายข้าวสารจากสต็อกซึ่งเป็นข้าวที่ยังไม่หมดอายุ ให้แก่ โครงการ Kadiwa ng Pangulo (KNP) หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ และบริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของและควบคุม (Government-Owned and Controlled Corporations; GOCC) ในราคา 36 เปโซต่อกิโลกรัม (19.81 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกรในท้องถิ่นด้วยการจำหน่ายข้าวในราคาที่ลดลง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มกําลังซื้อข้าวเปลือกสำหรับการเก็บสํารองข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินจะมีผลจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยข้อมูลการนําเข้าข้าวปี 2567 มีปริมาณ 4.68 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 3.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ไทยปริมาณ 598,157 ตัน และปากีสถาน ปริมาณ 283,517 ตัน ตามลำดับ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.73 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 489.00 เซนต์ (6,539.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 487.00 เซนต์ (6,507.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 32.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือน
กุมพาพันธ์ 2568 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.77 ล้านตัน (ร้อยละ 21.21 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.80 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.79 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,250 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 420.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,190 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 418.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,120 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2568 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.395 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.251 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.235 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.222 ล้านตันของเดือนมกราคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 12.96 และร้อยละ 13.06 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 9.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.96 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 49.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.83 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.43
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การนำเข้าน้ำมันปาล์มในเดือนมกราคมของอินเดียอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานกลั่นเลือกไปใช้น้ำมันพืชชนิดอื่นที่ราคาต่ำกว่าแทนน้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 46 จากเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 272,000 ตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,670.36 ริงกิตมาเลเซีย (36.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,526.42 ริงกิตมาเลเซีย (35.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.18
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,181.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,231.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (41.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.06
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ข้อมูลจากรายงาน ของ Sugar Commissionerate ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงงานน้ำตาลทรายในรัฐมหาราษฏะ (Maharashtra) จำนวน 9 แห่ง สิ้นสุดการหีบอ้อยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วยเขต Solapur จำนวน 7 โรงงาน และเขต Nanded จำนวน 2 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีเพียง 5 โรงงาน ที่มีการสิ้นสุดการหีบอ้อย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การที่โรงงานน้ำตาลทรายดำเนินการหีบอ้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ มีสาเหตุมาจากปริมาณผลผลิตของอ้อยโรงงานมีค่อนข้างน้อย และกำลังการหีบอ้อยเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังพบว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายน้อย เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตก่อนหน้า เนื่องจากการนำอ้อยโรงงานไปผลิตเอทานอลแทน (ที่มา: chinimandi.com)
- หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอ้อยโรงงานที่สำคัญของประเทศได้รับความเสียหาย เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องและน้ำท่วมหนักในพื้นที่ โดยอ้อยโรงงานในพื้นที่มีแนวโน้มเสียหายได้ถึง 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมยังทำให้การขนส่งระบบรางภายในพื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลต่อเนื่องไปยังปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายที่อาจลดลงประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายของออสเตรเลีย ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้หยุดการหีบอ้อยไว้ชั่วคราว ระหว่างฤดูฝน และจะกลับมาทำการหีบอ้อยต่ออีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม (ที่มา: Hindustan Times)
.png)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.14 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.00 เซนต์ (13.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,047.28 เซนต์ (13.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 303.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 45.75 เซนต์ (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.24 เซนต์ (33.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ร้อยละ 6.25
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ร้อยละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1040.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1046.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 860.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 865.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,458.80 ดอลลาร์สหรัฐ (48.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,526.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.45 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.22 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 920.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.89 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 986.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 974.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1040.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.16 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.48 บาท เพิ่มขั้นจากกิโลกรัมละ 36.88 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,074 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,232 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,471 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,647 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 973 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 73.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 89.76 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 กุมภาพันธ์ 2568) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 158.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา